แบตเตอรี่รถยนต์ โครงสร้างแบตตอรี่ กรด-ตะกั่ว
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletpanasonic test
dot
dot
คลิกแผนที่
dot
dot
bulletเครื่องวัดค่ากำลังสตาร์ทCCA
bulletชนิดของแบตเตอรี่แบบต่างๆ
bulletข้อสั่งเกตอาการแบตตอรี่เสื่อม
bulletโครงสร้างแบตตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bulletวิธีการชาร์ทแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง
bulletวิธีดูแลรักษาแบตเตอร๊่รถยนต์
bulletเลือกแบตให้เหมาะกับรถ
bulletรถยี่ห้อไหนใช้แบตเตอรี่อะไร
bulletโค้ด,ชนิด,แอมป์,แบตทุกยี่ห้อ
bulletขั้นตอนการตรวจวัดแบตเตอรี่
bulletแผนที่OFFICEช.แบตเตอรี่
dot
dot
bulletข้อมูล แบตเตอรี่ BOLIDEN
dot
dot
bulletBOSCH SMFแบตแห้ง
bulletBOSCH S3+Plus
bulletBOSCH HT AMG Start-Stop
bulletข้อมูล BOSCH แบตเตอรี่
bulletPANASONICแบตเตอรี่ MF
bulletแบตเตอรี่PANASONIC กึ่งแห้ง
bulletแบตเตอรี่กึ่งแห้งPANASONIC
dot
dot
bullet3Kแบตเตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bullet3Kแบตเตอรี่ HYBRID
bullet3Kแบตเตอรี่ V-Series
bullet3Kแบตเตอรี่ ข้อมูล
dot
dot
bulletFB แบตเตอรี่ กรดตะกั่ว-Hybrid
bulletFB แบตเตอรี่ MF-SMF
bulletลักษณะเด่น FB Super Gold
dot
dot
bulletGSแบตเตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bulletGS Double Lid & MF
bulletGS Hybrid Extra
bulletข้อมูลGSแบตเตอรี่
bulletข้อมูลแบตเตอรี่ GS
dot
dot
bulletPUMA แบตเตอรี่ SMF
dot
dot
bulletอัลปัมรูป BOLIDEN MF
bulletอัลปัมรูป BOLIDEN SMF
bulletอัลปัมรูป BOSCH
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN MF
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN SMF
bulletรถรุ่นไหนใช้แบตอะไรดูที่นี่
dot
dot
bulletเงื่อนไขการรับประกันแบต
dot
ส่งข่าวสารได้ที่นี่

dot
bulletคุณสมบัติ BOLIDEN
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN SMF
dot
dot
bulletแบตเตอรี่เครื่องเสียงรถยนต์
dot
dot
bulletเครื่องวัดแบต DHC BT 501
bulletเครื่องวัดแบต DHC BT 501EV
bulletเครื่องวัดแบต DHC รุ่น RT777
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT111
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT222
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT501
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC RT777
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT501EV
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT2000EV
bulletพรมซ้อมชิฟ พรมซ้อมไดร์ฟ
bulletแบตเตอรี่เครื่องเสียงรถยนต์


วาต้า แบตเตอรี่
เครื่องวัดประสิทธิภาพแบตเตอรี่ bt2000ev
ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ ยี่ห้อ PANASONIC ทุกรุ่น
แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ชนิดMaintenance Free รุ่นQuick One
แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ชนิด Sealed Maintenance Free รุ่น SMF
ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ทุกรุ่น คลิกที่นี่
แผนที่ Office Carbatt.com
ยินดีรับบัตร VISA MASTER
HONDA
NISSAN
MAZDA
MITSUBISHI
ISUZU
SUBARU
SUZUKI
benz
bmw
volvo
volkswagen
chevrolet
ford
hyundai
mini cooper
เครื่องวัดคุณภาพแบตเตอรี่
QR CODE Carbatt.com
3K Battery Advance Extreem
แบตเตอรี่ ROCKET SMF
รับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ HYBRID ทุกรุ่นที่ยี่ห้อ


โครงสร้างแบตตอรี่ กรด-ตะกั่ว

        โครงสร้างแบตเตอรี่รถยนต์และแบตเตอรี่แบบต่างๆ

 

 “คุณจะได้รู้จักกับแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟเข้าไปใหม่ได้แบบต่างๆ  ตลอดจนการนำไปใช้งาน  ถึงแม้จะมีราคาแพง  แต่ก็คุ้มค่าแก่การลงทุน”

 

        ในตอนที่แล้ว  ได้กล่าวถึงเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  แบบอัลคาไลน์  แมงกานีส  แบบปรอท  แบบซิลเวอร์  แบบสังกะสี – อากาศและแบบลิเธี่ยม  ซึ่งเซลต่างๆ  ที่กล่าวมานี้ถูกจัดอยู่ในเซลแบบปฐมภูมิ  เมื่อพลังงานเคมีในตัวเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าหมดแล้ว  ก็หมดสภาพในการเป็นแหลงจ่ายไฟอีกต่อไป  แต่ยังมีเซลอีกแบบหนึ่ง  เรียกว่าเซลแบบทุติยภูมิ  (secondary  cell)  สามารถที่จะประจุไฟกลับใหม่ได้  โดยที่ปฏิกิริยาเคมี  ซึ่งจ่ายเป็นพลังงานไฟฟ้าออกมานั้น  เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้  การใช้เซลแบบทุติยภูมินี้  ทำให้เหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟมาก  เนื่องจากถ้าเซลถูกใช้ไฟไปจนหมดแล้ว  สามารถจะประจุกลับไปใหม่  เพื่อจะได้ใช้ต่อไปได้ 
       
        เซลแบบทุติยภูมินี้จะมีราคาแพงกว่าเซลแบบปฐมภูมิ  ในการลงทุนซื้อมาตอนแรก  เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องซื้อเครื่องประจุไฟมาด้วย  แต่เมื่อคิดในระยะยาวแล้วเซลแบบทุติยภูมินี้  จะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะเลือกใช้เซลชนิดใด  ในบทความต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายของการใช้เซลแบบทุติยภูมิ  ที่กำลังนิยมใช้กันอยู่นี้  กับเซลแบบปฐมภูมิ

เซลแบบตะกั่ว – กรด  (Lead  Acid)
        เซลแบบทุติยภูมิชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมากก็คือ  เซลแบบตะกั่วกรด  ซึ่งใช้กันทั่วไปในรถยนต์  ตัวอย่างเซลชนิดนี้แสดงในรูปที่  1  ซึ่งเราจะเห็นมันประกอบด้วยแผ่นคาโถด  และแผ่นอาโนดวางสลับกันจุ่มอยู่ในอิเลคทรอไลท์ที่ทำจากสารละลายกรดกำมะถัน  แผ่นเพลทจะวางสลับกัน  เพื่อจะได้มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับอิเลคทรอไลท์ได้มาก  ในขณะที่รักษาปริมาตรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้  สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างแผ่นอิเลคโทรด  และอิเลคทรอไลท์มากเท่าไร  ปฏิกิริยาเคมีก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น  นอกจากนี้ค่าความต้านทานภายในเซลจะยิ่งมีค่าน้อยลงด้วย  ดังนั้นในการค้นคว้าจึงมุ่งทางด้านเพิ่มที่ผิวสัมผัส  วิธีที่นิยมใช้กันก็คือใช้แผ่นเพลทบางๆ  คั่นด้วยฉนวนแบบมีรูพรุน
       
        อิเลคโทรดเป็นอาโนดจะสร้างขึ้นมาจากตะกั่วบริสุทธิ์  ในขณะที่คาโถดจะสร้างจากส่วนผสมของตะกั่วและตะกั่วเปอร์ออกไซด์  ในขณะที่เซลคายประจุให้กระแสไฟฟ้าออกมานั้น  อะตอมของตะกั่วจากแผ่นอาโนดจะแตกตัวเป็นไอออนที่มีประจุบวกเข้าไปอยู่ในอิเลคทรอไลท์และทิ้งอิเลคตรอนให้ไหลเข้าสู่วงจรที่นำมาต่อภายนอก  ดังแสดงในรูปที่  2

รูปที่ 1 ภาพแสดงโครงสร้างของเซลแบบตะกั่ว–กรด  แผ่นอาโนดและคาโถดจะวางสลับกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวระหว่างกัน

รูปที่  2    ไอออนบวกของตะกั่วจะออกมา  อาโนดเข้าไปในอิเลคทรอไลท์  อิเลคตรอนจะมีอิสระ ที่จะเข้าไปวงจรที่นำมาต่อภายนอก  ซึ่งจะทำให้เกิดกระแสไหลจากคาโถดไปยังอาโน

        ที่คาโถด  ตะกั่วเปอร์ออกไซด์จะแตกตัวเป็นไอออนของตะกั่ว  ซึ่งมีประจุบวกสูง  และเป็นไอออนที่มีประจุลบสูง  ไอออนของตะกั่วที่มีประจุบวกสูงจะดึงเอาอิเลคตรอนจากวงจรที่ต่ออยู่ภายนอก  เพื่อรวมตัวกลายเป็นอิออนตะกั่วที่มีประจุบวก  ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับอาโนดทำให้เกิดกระแสไหลจากคาโถดผ่านไปยังวงจรภายนอก
 ไอออนของตะกั่วจากแผ่นอิเลคโทรดทั้งสองจะทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน  ซึ่งเป็นอิเลคทรอไลท์  กลายเป็นตะกั่วซัลเฟต  (lead  sulphate)  (ซึ่งจะเห็นเป็นตะกอนสีขาวเกาะอยู่ที่อิเลคโทรดทั้งสอง)  และก๊าซไฮโดรเจน  (ซึ่งจะรวมกับอิออนของออกซิเจนจากคาโถดกลายเป็นน้ำ)  เราสามารถจะเขียนสูตรสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

  PbO2 + Pb + 2H2SO4 = 2PbSO4 + 2H2O

        ซึ่งแสดง  (โดยลูกศร  2  ทิศทาง)  ว่าเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้  ดังนั้นจึงสามารถที่จะประจุเซลใหม่โดยการต่อวงจร  ซึ่งจะขับอิเลคตรอนให้ไหลจากคาโถดไปสู่อาโนด  ดังจะเห็นวงจรต่อไป
สูตรทางเคมีแสดงให้เห็นว่าสารละลายอิเลคทรอไลท์  จะเจือจางลงโดยโมเลกุลของน้ำที่เกิดขึ้น  ซึ่งเป็นขณะเดียวกับที่เซลคายประจุ  ทำให้เราสามารถใช้เป็นวิธีการหาสถานะการประจุและคายประจุของเซลได้  โดยการวัดความถ่วงจำเพาะ  (specific  gravity)  ของสารละลายอิเลคทรอไลท์  ซึ่งจะบอกว่าเซลใกล้จะถึงสถานะคายประจุหมดหรือยัง  เพื่อจะได้ประจุไฟฟ้ากลับเข้าไปใหม่  โดยค่าความถ่วงจำเพาะของเซลที่ประจุมาเต็มที่จะมีค่าประมาณ  1.25  และค่าความถ่วงจำเพาะของเซลที่คายประจุหมดจะมีค่าระบุไว้ประมาณ  1.2  เราใช้ไฮโดรมิเตอร์ในการวัด  แรงดันของเซลโดยปกติจะมีค่าเท่ากับ  2  โวลท์ 
เซลแบบตะกั่ว – กรดนี้มีโครงสร้างแบบที่กล่าวมาเป็นระยะเวลานานแล้ว  การปรับปรุงให้เซลมีอายุการใช้งานนานขึ้น  โดยที่แบตเตอรี่ที่มีการผนึกอย่างดี  และมีอิเลคทรอไลท์เป็นของแข็งได้ถูกผลิตขึ้นมาแล้ว  ซึ่งไม่ต้องมีการบำรุงรักษาเลย  จึงสามารถนำไปใช้ที่ใดก็ได้  นับว่ามีประโยชน์ในการใช้แทนหรือใช้อย่างปกติแทนเซลแบบปฐมภูมิในเครื่องมือวัดแบบกระเป๋าหิ้ว  เนื่องจากมันสามารถประจุไฟใหม่ได้  โครงสร้างของเซลแบบนี้ในแบเตอรี่ขนาด  6  โวลท์  แสดงไว้ในรูปที่  3

 
รูปที่  3    โครงสร้างของแบตเตอรี่แบบตะกั่ว  - กรดที่มีการปิดผนึก  ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถจะใช้ที่ใดก็ได้โดยจะไม่ปล่อยอิเลคทรอไลท์ออกมา  ใช้ประโยชน์ในเครื่องมือแบบกระเป๋าหิ้ว


ประจุกลับเข้าไปใหม่
        การประจุเซลแบบตะกั่ว – กรดนั้น  สามารถทำได้อย่างง่ายๆ  โดยการป้อนกระแสกลับทางเข้าไปในแบตเตอรี่  เพื่อบังคับให้ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น  เกิดจากทางขวามือไปทางซ้ายมือ  ซึ่งจะเปลี่ยนตะกั่วซัลเฟตให้กลับเป็นตะกั่วและกรดกำมะถันตามเดิม  วิธีการที่ง่ายที่สุดในการป้อนกระแสกลับทางก็โดยการต่อขั้วคาโถด  (ขั้วบวก)  และขั้วอาโนด  (ขั้วลบ)  เข้ากับขั้วบวกและขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอก  แรงดันของแหล่งจ่ายไฟภายนอกนี้จะอยู่ในช่วง  1.1  ถึง  1.25  เท่าของแรงดันของเซลโดยปกติ  ดังนั้นเซลแบบนี้เซลเดียว  ซึ่งมีแรงดันปกติ  2  โวลท์  สามารถที่จะประจุเข้าไปด้วยแรงดันระหว่าง  2.2  โวลท์ถึง  2.5  โวลท์  ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ  ก็คือแบตเตอรี่รถยนต์  (ซึ่งแรงดันปกติเท่ากับ  12  โวลท์เนื่องจากประกอบด้วยเซล  6  เซลอนุกรมกัน)  จะถูกประจุโดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโมและผ่านชุดรักษาระดับแรงดันให้เป็นไฟตรงมีค่าแรงดันคงที่ที่  14  โวลท์
       
        เป็นที่เห็นได้ชัดว่า  กระแสที่ป้อนเข้าไปเมื่อประจุไฟใหม่นั้นขึ้นอยู่กับแรงดันที่ป้อนเข้าไป  นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับสถานนะของเซลว่าคายประจุหมดเต็มที่หรือไม่  ถ้าแรงดันที่ป้อนเข้าประจุไฟมีค่าสูงและเซลคายประจุหมดเต็มที่แล้ว  จะทำให้กระแสที่ไหลเข้าประจุเซลจะมีค่ามากตามไปด้วย  หรือถ้าเซลถูกใช้แบบเป็นวงรอบ  (cyclic)  คือจากสถานะประจุเต็มไปสู่สถานะหมดประจุเต็มที่แล้วจึงค่อยประจุใหม่อีกครั้ง  จะใช้กระแสในการประจุมากตามไปด้วย  แต่ถ้าเซลถูกใช้งานพร้อมกับประจุไฟเข้าตลอดเวลา  เช่นในแบตเตอรี่รถยนต์แล้ว  กระแสที่ใช้ในการประจุก็จะมีค่าต่ำ  ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด  12  โวลท์  จึงใช้แรงดันในการประจุเพียง  14  โวลท์  ซึ่งประมาณ  1.17  เท่าของแรงดันปกติของแบตเตอรี่
       
        วงจรที่ใช้ในการประจุแบตเตอรี่แบบตะกั่ว – กรดนี้  แสดงในรูปที่  4  ก.  ซึ่งแสดงให้เห็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่มีแรงดันคงที่อยู่กับแบตเตอรี่  วงจรสมมูลย์ของรูปที่  4  ก.  แสดงให้เห็นในรูปที่  4  ข.  ซึ่งเราจะเห็นว่าแบตเตอรี่จะถูกพิจารณาว่าประกอบด้วยตัวต้านทาน  2  ตัว  โดยตัวต้านทาน  R1  จะเป็นค่าความต้านทานภายในของแบตเตอรี่เอง  จะมีอยู่ในแบตเตอรี่เสมอไม่ว่าแบตเตอรี่นั้นกำลังประจุหรือคายประจุอยู่  ส่วนตัวต้านทาน   R2  นั้นจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์หมดประจุของแบตเตอรี่  เมื่อแบตเตอรี่คายประจุหมดเต็มที่  ค่าความต้านทานตัวนี้จะมีค่าสูง  อย่างไรก็ตามเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด  หรือประจุจนเต็มที่แล้ว  ค่าความต้านทาน  R2  นี้จะมีค่าสูงขึ้น  ทำให้กระแสที่ใช้ในการประจุมีค่าลดลง 
 
        เราสามารถที่จะตรวจสอบสถานการณ์ประจุของแบตเตอรี่ได้  โดยการสังเกตค่าของกระแสที่ใช้ในการประจุ  ซึ่งจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อแรงดันที่ใช้ในการประจุมีค่าคงที่  (โดยการใช้แหล่งจ่ายไฟที่มีการรักษาระดับแรงดันออกให้คงที่)  แบตเตอรี่รถยนต์โดยทั่วไป  ตัวอัดประจุให้แก่แบตเตอรี่จะจ่ายแรงดันออกมาไม่คงที่  ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้วิธีการดูกระแสในการบอกสถานการณ์ประจุของแบตเตอรี่ได้อย่างถูกต้อง
 เราสามารถที่จะใช้วิธีประจุอย่างรวดเร็วแก่แบตเตอรี่ชนิดนี้ได้  โดยใช้แรงดันคงที่ขนาด  1.25  เท่าของแรงดันปกติของแบตเตอรี่  โดยคอยสังเกตระดับกระแสที่ประจุไว้  และการประจุจะสิ้นสุดเมื่อระดับกระแสที่ประจุตกลงมาถึงค่ากระแสสุดท้ายในการประจุ  ซึ่งจะบ่งบอกโดยผู้ผลิตแบตเตอรี่ชนิดนั้น  ภายใต้เงื่อนไขนี้การประจุจะเต็ม  (จากตอนที่แบตเตอรี่หมดประจุเต็มที่จนถึงประจุโดยสมบูรณ์)  ภายในเวลา  5  ชั่วโมง  ถ้าเราไม่สามารถรักษาระดับแรงดันในการประจุได้คงที่อยู่ได้  ก็ไม่สมควรที่จะใช้วิธีประจุอย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้เนื่องจากจะทำความเสียหายแก่เซลจนไม่สามารถแก้ไขได้  ในกรณีนี้จึงควรใช้แรงดันในการประจุน้อยลงเป็นประมาณ  1.1  ถึง  1.2  เท่าของแรงดันปกติของแบตเตอรี่จึงจะดีที่สุด  โดยใช้เวลาในการประจุเกินกว่า  20  ชั่วโมงขึ้นไป

 
รูปที่  4  ก.    แสดงการประจุแบตเตอรี่แบบ  ตะกั่ว – กรด  โดยใช้แหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันคงที่ขนาด  1.1  ถึง 1.25  เท่าของแรงดันปกติของแบตเตอรี่   ข.  เป็นวงจรสมมูลย์ของวงจรประจุแบตเตอรี่ในรูปที่  4  ก.


เซลแบบนิกเกิล – แคดเมียม  (Nickel  Cadmium)
        เซลแบบทุติยภูมิชนิดที่สองที่จะกล่าวถึงก็คือ  เซลแบบนิกเกิล – แคดเมียม  เรียกกันย่อๆ  ว่า  นิ – แคด  บางครั้งเซลแบบนิ – แคด  นี้จะถูกเรียกว่า  เซลแบบ  DEAC  ซึ่งเป็นชื่อย่อของบริษัทแรกที่ผลิตขึ้นมา  คือ  Dertsche  Edison  Akkulumulatoren  Company  ซึ่งอยู่ในเยอรมัน
 
        ขั้วบวกของเซลแบบนิแคดนี้ทำจากนิกเกิลไฮเดรท  (nickel  hydrate)  ส่วนขั้วลบนั้นทำจากแคดเมี่ยมไฮดรอกไซด์  (cadmium  hydroxide)  อิเลคทรอไลท์ทำจากสารละลายโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์  (potassium  hydroxide)  ซึ่งก็เหมือนกับเซลแบบตะกั่วกรดคือ  ปฏิกิริยาเคมีในการประจุและคายประจุ  เป็นดังนี้

  Cd + 2NiOOH + 2H2O = Cd(OH)2 + 2Ni(OH)2

        โดยสถานะประจุเต็มที่  คือทางด้านซ้ายมือ  และสถานะหมดประจุเต็มที่อยู่ทางด้านขวามือ  ในเซลที่ได้รับการประจุจนเต็ม  ขั้วลบจะเป็นแคดเมี่ยมบริสุทธิ์  ซึ่งจะถูกออกซิไดซ์  (oxidised)  ในระหว่างการคายประจุ  ส่วนขั้วบวกจะค่อยๆ  ลดระดับในการเกิดออกซิเดชั่น  (oxidation)  ระหว่างการคายประจุ

รูปที่  5    ภาพแสดงโครงสร้างของเซลแบบนิแคดรูปกระดุม  ใช้ขั้วที่ผ่านการเผาเพื่อให้มีพื้นผิวสัมผัสมาก และให้ก๊าซออกซิเจนวิ่งไประหว่างขั้วบวก  และลบได้อย่างรวดเร็ว 

        ในระหว่างการประจุนอกจากปฏิกิริยาหลักที่เกิดขึ้นที่ขั้วบวกแล้วนั้น  จะมีปฏิกิริยาข้างเคียงเกิดขึ้นด้วย  ซึ่งจะก่อให้เกิดก๊าซออกซิเจน  แต่ก็ไม่เป็นปัญหา  เนื่องจากก๊าซออกซิเจนสามารถเคลื่อนที่จากขั้วบวกไปรวมตัวกับขั้วลบ
        ปฏิกิริยาข้างเคียงที่เกิดขึ้นที่ขั้วลบจะผลิตก๊าซไฮโดรเจนขึ้น  โดยจะเกิดขึ้นเมื่อขั้วลบอยู่ในสถานะประจุเต็มที่  โดยเราจะแน่ใจได้ว่าก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะไม่รั่วไหลออกไป  ถ้าทำให้ขนาดของขั้วลบใหญ่กว่าขั้วบวก
        เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเซลถูกประจุจนเต็ม  กระแสที่ไหลผ่านเซลทั้งหมดจะใช้ในการผลิตก๊าซออกซิเจนที่ขั้วบวก  ซึ่งจะผ่านไปรวมตัวกันที่ขั้วลบ  ซึ่งโครงสร้างของเซลเป็นส่งที่จำเป็นมากที่จะต้องสร้างให้มีทางให้ก๊าซออกซิเจนมารวมตัวได้  ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้  โครงสร้างของเซลแบบนิแคดรูปกระดุมแสดงในรูปที่  5  ซึ่งเราจะเห็นว่าเราสร้างด้วยแผ่นเพลทที่ผ่านการเผา  เพื่อให้แผ่นเพลทมีรูพลุนมากๆ  เพื่อช่วยในก๊าซออกซิเจนวิ่งจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบได้สะดวกขึ้น  แผ่นเพลทที่ผ่านการเผานี้จะเป็นประโยชน์โดยช่วยเพิ่มหน้าสัมผัสของแต่ละขั้ว  ถ้าเซลแบบกระดุมนี้ถูกประจุมากเกินไป  ด้วยกระแสซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนมากเกินไป  ตัวเซลนี้จะเกิดการระเบิดขึ้นได้  ดังนี้จึงต้องระมัดระวังในการประจุไฟเข้าเซล  ปัญหาที่เกิดอีกขึ้นก็คือ  เนื่องจากปฏิกิริยาการรวมตัวกันของก๊าซออกซิเจนและอิเลคโทรดขั้วลบเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน  ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของเซลสูงขึ้น  อาจทำความเสียหายแก่เซลได้

รูปที่  6    ภาพแสดงโครงสร้างของเซลแบบนิแคดรูปทรงกระบอก  รูระบายที่ปิดอยู่จะเปิดเมื่อความดันภายในเซลสูง เพื่อป้องกันเซลระเบิดจากการประจุมากเกินไป

ปัญหาที่เกิดขึ้น
        ปัญหาเกี่ยวกับการระเบิดของเซลแบบนี้สามารถบรรเทาลงได้  โดยการใช้เซลนิแคดแบบรูปทรงกระบอก  ซึ่งมีโครงสร้างดังแสดงในรูปที่  6  จะเห็นได้ว่าเราใช้แผ่นเพลทที่เผามาทำเป็นขั้วบวกและขั้วลบอีก  แต่เรานำมาม้วนให้เป็นรูปทรงกระบอก  และมีรูระบายติดตั้งอยู่ที่ฝาบนของเซลซึ่งจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกสู่ภายนอกเมื่อความดันขึ้นสูงกว่า  90  ปอนด์/ตารางนิ้ว  ดังนั้นถ้าเซลถูกประจุมากเกินไป  ด้วยกระแสที่สูงเกินก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นจุถูกระบายออกจากเซล  ทำให้เซลไม่เกิดการระเบิดขึ้นอย่างไรก็ตาม  ก๊าซออกซิเจนที่ระบายออกไปก็ไม่สามารถหากลับมาทดแทนได้
 เซลที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกนี้สามารถที่จะเก็บพลังงานได้มากกว่าเซลแบบกระดุม  เมื่อขนาดเท่าๆ  กัน  และสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่าด้วย  (เนื่องจากมีความต้านทานภายในต่ำ)  กุญแจแห่งความสำเร็จของเซลแบบทรงกระบอกนี้  คือการใช้ตาข่ายนิกเกิลบริสุทธิ์ที่มีรูพรุนเล็กๆ  มาทำเป็นตะแกรงเพื่อให้นิกเกิลไฮดรอกไซด์และแคดเมี่ยมไฮดรอกไซด์  สามารถก่อตัวเป็นขั้วบวกและขั้วลบบนตะแกรงนั้นได้อย่างรวดเร็ว  แผ่นนิกเกิลจะถูกเชื่อมกับอิเลคโทรด  และต่อกับตัวถังด้านบนของตัวแบตเตอรี่
       
        ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของเซลที่มีโครงสร้างแบบทรงกระบอกก็คือ  สามารถทำเซลให้มีขนาดเท่ากับขนาดของเซลแบบปฐมภูมิที่มีใช้กันอยู่ได้  คือขนาด  AAA , AA , C , D  และขนาด  PP-3  และอื่นๆ  อีก  ซึ่งหมายความว่าเราสามารถนำเซลแบบนิแคดนี้มาใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟในเครื่องใช้ต่างๆ  ภายในบ้าน  เช่น  วิทยุเทปคาสเซทท์  ไฟฉาย  เป็นต้น  แรงดันของเซลแบบนิแคดนี้โดยปกติมีค่าประมาณ  1.25  โวลท์  ซึ่งเมื่อเทียบกับเซลแบบปฐมภูมิชนิดเดียวกันแล้วซึ่งมีแรงดันประมาณ  1.5  โวลท์แล้วอาจจะทำให้คิดว่าเครื่องใช้ต่างๆ  จะไม่สามารถทำงานได้  ถ้าเปลี่ยนจากเซลแห้งธรรมดาไปเป็นเซลแบบนิแคดขนาดเดียวกัน  แต่ก็ไม่เป็นความจริง  เนื่องจาก

        1.แรงดันของเซลแห้งที่กล่าวมานั้นเป็นแรงดันตอนที่ไม่มีโหลดอยู่  ซึ่งแรงดันนี้จะตกลงเล็กน้อยเมื่อโหลดดึงกระแสไปใช้  ทั้งนี้เนื่องมากจากค่าความต้านทานภายในของเซล  ซึ่งเมื่อต่อเซลอนุกรมกันหลายๆ  เซลแล้ว แรงดันตอนใช้งานอาจจะเหลือเพียงเซลละ  1  โวลท์  (หรือน้อยกว่า)  แต่ค่าความต้านทานภายในที่ต่ำมากๆ  ของเซลแบบนิแคดนี้  จะทำให้แรงดันตอนใช้งานจะยังคงเท่ากับ  1.25  โวลท์  ในการใช้งานหลายอย่างดูเหมือนว่า  แรงดันปกติที่ต่ำกว่าของเซลนิแคดนี้นะให้คุณสมบัติที่ดีกว่าเซลแห้งธรรมดา

รูปที่  7    เป็นกราฟแสดงแรงดันของเซลกับเวลา  เปรียบเทียบกันระหว่างเซลแห้ง  (dry  cell) และเซลแบบนิแคด  ด้วยการจ่ายกระแสเท่ากัน


 
        2.แรงดันของเซลแห้งนี้จะแปรเปลี่ยนไปตามเวลา  ถ้าเราเขียนกราฟระหว่างแรงดันของเซลแห้งกับเวลา  และเปรียบเทียบกับกราฟของเซลแบบนิแคดในรูปที่  7  จะเห็นว่า  แรงดันของเซลแห้งจะสูงกว่าแรงดันของเซลแบบนิแคดในตอนแรก  แต่เมื่อเซลคายประจุออกไปแล้วจะเห็นว่าในที่สุดแรงดันของเซลแห้งนี้จะเริ่มต่ำกว่าแรงดันของเซลแบบนิแคด  ในขณะที่แรงดันของเซลแบบนิแคดจะค่อนข้างคงที่  และจุดหมดประจุ  คือ  เวลาที่คิดว่าเซลคายประจุหมดอย่างสมบูรณ์แล้ว  จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  เมื่อใช้เซลแบบนิแคดนี้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อถึงจุดที่เซลหมดประจุ  เครื่องใช้นั้นก็จะหยุดทำงานทันที

เมื่อคิดถึงเรื่องราคา
        ชิ้นส่วนในการทำเซลแบบนิแคดนี้  ได้เลือกสรรและควบคุมอย่างเคร่งครัดในการเลือกวัตถุมาใช้  ตลอจนใช้เทคนิคในการผลิตที่ประณีต  จึงทำให้เซลแบบนิแคดนี้มีราคาแพง  โดยจะแพงกว่าเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสขนาดเดียวกันประมาณ  2.5  เท่า  ในขณะที่ความจุพลังงานมีเพียง  1  ใน  4  ของเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีส  ถ้าเรามองเพียงผิวเผินแล้วอาจจะเห็นว่าไม่คุ้มค่า  แต่อย่าลืมว่าเซลแบบนิแคดนี้สามารถใช้ได้นานหลายครั้งกว่า  ไม่เหมือนกับเซลแบบปฐมภูมิ  เชลแบบอัลคาไลน์  แมงกานีส  เพื่อจะดูว่าเซลแบบนิแคดนี้มีราคาคุ้มค่ากว่าเซลแบบปฐมภูมิ  เราต้องมาศึกษาถึงวิธีการประจุไฟก่อน

        ก่อนที่จะประจุไฟให้กับเซลแบบนิแคด  โดยไม่ให้เกิดความเสียหายและสามารถประจุได้เต็มที่นั้น  เราจะต้องรู้ถึงค่าความจุของเซลก่อน  ความจุของเซลแบบนิแคดนี้  คือปริมาณของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด  ซึ่งเซลสามารถข่ายออกมาได้เมื่อมันได้รับการประจุไฟจนเต็มที่  จะแสดงออกมาในรูปของตัวเลขที่เป็นแอมป์ – ชั่วโมง  หรือมิลลิแอม – ชั่วโมง  เซลชนาดใดก็ตาม  ค่าตัวเลขจริงๆ  นี้  จะแปรเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับกระแสที่จ่ายออกไป  ดังนั้นมักจะกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายกระแส  เมื่อระบุถึงค่าความจุ  ผู้ผลิตจะแจ้งถึงค่าความจุและเงื่อนไขในการจ่ายกระแสบนตัวเซล  รายละเอียดเกี่ยวกับความจุโดยปกติของเซลขนาดต่างๆ   ระบุไว้ในตารางที่  1
       
        ในเซลแบบทรงกระบอกนี้ค่าความจุโดยปกติ  รู้จักกันในนามของ  “ความจุ  5  ชั่วโมง”  เนื่องจากเป็นจำนวนของพลังงานไฟฟ้าที่เซลจะจ่ายออกมาได้เมื่อใช้เวลาในการจ่าย  5  ชั่วโมง  อัตราการจ่ายกระแสใน  1  ชั่วโมง  จะคายประจุออกจากเซลในเวลา  1  ชั่วโมง  จะคายประจุออกจากเซลในเวลา  1  ชั่วโมง  โดยให้สัญลักษณ์ว่า  “C”  เช่นเดียวกับอัตราการจ่ายใน  5  ชั่วโมง  (C/5)  จะหมายถึงกระแสที่สามารถจ่ายออกจากเซลในเวลา  5  ชั่วโมงเป็นต้น  เซลจะถูกคิดว่าคายประจุหมดสิ้น  เมื่อแรงดันของมันตกลงเหลือ  1  โวลท์  รูปที่  8  แสดงถึงค่าความจุของเซลแบบนิแคดซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปกับอัตราการจ่ายกระแสค่าต่างกัน  3  ค่า  จากรูปนี้จะพบว่าค่าความจุของเซลจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถ้าอัตราการจ่ายกระแสมีค่าต่ำลดต่ำลง  และค่าความจุที่ลดลงจะเป็นผลมาจากอัตราการจ่ายกระแสสูงขึ้น
 
        ความจุของเซลแบบกระดุม  เช่นเดียวกันกับแบบทรงกระบอก  จะแสดงอยู่ในรูปของ  “ความจุ  10  ชั่วโมง”  และด้วยอัตราการจ่ายกระแสเป็นเวลา  10  ชั่วโมง  (C/10)  จะทำให้แรงดันของมันลดลงเหลือ  1.1  โวลท์  ที่จุดนี้มันจะถูกพิจารณาว่าหมดประจุอย่างสมบูรณ์

รูปที่  8    แสดงถึงค่าความจุของเซลนิแคดจะแปรเปลี่ยนไปตามอัตราการจ่ายกระแส

        เซลแบบนิแคดนี้จะไม่เหมือนกับเซลแบบตะกั่ว – กรด  (ถึงแม้จะเป็นเซลทุติยภูมิเหมือนกัน)  ตรงที่เซลแบบนิแคดนี้จะต้องไม่ประจุไฟให้มันด้วยแหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันคงที่  เพราะว่าค่าความต้านทานภายในของมันมีค่าต่ำมาก  จะทำให้กระแสที่ใช้ในการประจุมีค่ามากเกินไป  ซึ่งจะทำความเสียหายให้แก่เซลได้  เราจะใช้แหล่งจ่ายไฟแบบกระแสคงที่แทน  ซึ่งจะจ่ายกระแสออกมาโดยกำหนดท่าได้และอยู่ในอัตราที่ปลอดภัย

รูปที่  9    วิธีการง่ายๆ  ในการสร้างวงจรประจุกระแสคงที่  เพื่อใช้ในการประจุเซลนิแคด

 
        วิธีง่ายที่สุดในการจ่ายกระแสคงที่แสดงในวงจรรูปที่  9  ซึ่งแหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันที่จะจ่ายกระแสออกมาประจุเซลแบบนิแคด  โดยผ่านตัวต้านทานจำกัดกระแส  ค่าของตัวต้านทานจะถูกเลือกให้ค่ากระแสที่ไปประจุเซลจะไม่เกินค่าปลอกภัยสำหรับเซลขนาดนั้น  โดยวงจรนี้เราจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง  วิธีการประจุโดยใช้วงจรนี้สามารถประจุเซลได้  3  วิธีใหญ่ๆ  คือ

การประจุทีละน้อย  (Trickle  Recharge) 
        ถ้ากระแสในวงจรถูกรักษาไว้ที่อัตราเท่ากับ  C/10  (10%  ของความจุ)  แล้ว  เซลที่หมดประจุอย่างสมบูรณ์สามารถจะประจุได้ภายใน  10  ชั่วโมง  แต่ความเป็นจริงจะใช้เวลามากกว่า  10  ชั่วโมง  การประจุทีละน้อยด้วยอัตราขนาดนี้สามารถประจุทิ้งไว้ค้างคืนได้  ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการประจุเซลด้วยอัตราขนาดนี้คือ  ถึงแม้ว่าเซลจะถูกประจุเต็มแล้วก็ตาม  ก็ไม่จำเป็นต้องนำเซลออก  เนื่องจากถ้าเราประจุต่อไปก็จะไม่ทำความเสียหายให้แก่เซล  เนื่องจากก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ขั้วบวกจะรวมตัวกับขั้วลบ  การประจุเซลโดยไม่มีข้อจำกัด  ซึ่งจะไม่ทำให้ความเสียหายแก่เซล  ยกตัวอย่างเช่น  เซลมีขนาดความจุ  500  มิลลิแอมป์ – ชั่วโมง  ถ้าประจุด้วยอัตรา  C/10   ก็เท่ากับ  10%  ของความจุ  คือ  50  มิลลิ-แอมป์

รูปที่  10    แสดงถึงการที่แรงดันของเซลนิแคดแปรเปลี่ยนไปตามเวลาเมื่อทำการประจุ 
            (หลังจากหมดประจุอย่างสมบูรณ์แล้ว)  ด้วยอัตรากระแส  C/4 
    

การประจุอย่างเร็ว  (Fast  Recharge)
        เซลแบบนิแคดนี้สามารถจุประจุด้วยอัตราที่สูงขึ้นกว่าได้  เช่นด้วยอัตรา  C/3  (33%  ของความจุ)  ถึง  C/5  (20%  ของความจุ)  โดยจะต้องเตรียมการตัดการประจุ  เมื่อเซลได้รับการประจุจนเต็มที่แล้ว  ซึ่งสามารถทำได้อย่างอัตโนมัติ  โดยใช้วงจรตรวจจับแรงดัน  ซึ่งจะตัดกระแสที่ใช้ในการประจุออก  เมื่อแรงดันของเซลเพิ่มขึ้นเกินกว่าค่าปัจจุบัน  รูปที่  10  แสดงถึงการแปรเปลี่ยนของแรงดันของเซลกับอัตราการประจุเท่ากับ  C/4  (25%  ของความจุ)  จะเห็นได้ชัดว่าวิธีการนี้สามารถใช้ได้เฉพาะ  ถ้าสามารถวัดค่าแรงดันได้อย่างเที่ยงตรงและว่องไว  สามารถตัดกระแสที่ใช้ประจุออกก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น  ปัญหาในการใช้การประจุแบบนี้ก็คือ  ถ้ากระแสที่ใช้ในการประจุค่าสูงๆ  นี้ไม่ได้ถูกตัดออกอย่างทันที  เมื่อเซลได้รับการประจุจนเต็มที่แล้ว  ก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นมากเกินจากขั้วลบในปริมาณที่เพียงพอ  ความดันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และเซลจะระบายก๊าซออกซิเจนออกไปโดยที่  รูระบายที่ปิดไว้จะเปิดออกและปล่อยก๊าซออกซิเจนกับอิเลคทรอไลท์บางส่วนออกมา  เนื่องจากเมื่ออิเลคทรอไลท์สูญเสียออกมาจากเซลแล้ว  ก็ไม่สามารถเติมกลับเข้าไปใหม่ได้  ดังนั้น  ความจุของเซลจะลดลงอย่างถาวรก็คือ  เซลนั้นจะมีความจุน้อยลงตลอดไป

การประจุอย่างเร่งด่วน  (Super – Fast  Recharging)   
        มีบางกรณีที่ผู้ใช้ต้องการที่จะประจุเซลภายในเวลาเพียง  2 – 3  นาที  ยกตัวอย่างเช่น  เครื่องบินเล็กที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายกำลังจะต้องการการประจุเซลที่หมดประจุ  เพื่อที่จะนำเครื่องบินนี้  บินขึ้นสู่อากาศอีกครั้ง  โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
       
        มันเป็นไปได้ที่จะประจุเซลอย่างเร่งด่วน  ด้วยอัตราการประจุถึง  4C  (4  เท่าของความจุ)  หรือมากกว่านี้  โดยวิธีการต่อไปนี้  คือวัดแรงดันของเซลและตัดกระแสที่ใช้ประจุออก  เมื่อแรงดันของเซลขึ้นสูงถึงค่าที่ตั้งไว้  อย่างไรก็ตามมีวิธีการที่ง่ายกว่า  แล้วก็เที่ยงตรงด้วย  โดยจากหลักความจริงที่ว่าเซลได้หมดประจุอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะพยายามทำการประจุมันใหม่  ให้ประจุไฟเข้าโดยกำหนดค่ากระแสประจุคงที่ไว้ใช้เวลาในการประจุตามที่ต้องการ  เช่นหลังจากเซลหมดประจุแล้ว  กระแสที่ใช้ในการประจุขนาด  3C  (3  เท่าของความจุ)  จะถูกป้อนเป็นเวลา  20  นาที  หรือจะใช้กระแสในการประจุเป็น  5C  (5  เท่าของความจุ)  ป้อนเข้าไปเป็นเวลา  12  นาที  เป็นต้น  แม้ว่าวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ดี  เช่น  สำหรับนักเล่นเครื่องบินจำลองที่มีเพียงแหล่งจ่ายไฟเป็นเพียงแบตเตอรี่รถยนต์ก็ตาม  ก็เป็นสิ่งที่ควรระวังไว้  เนื่องจากการประจุมากเกินไปเพียง  2 – 3  วินาที  อาจจะทำให้เกิดการรั่วของเซลได้  กล่าวย่อๆ  ก็คือ  เมื่อจะใช้วิธีการนี้เซลจะต้องหมดประจุอย่างเต็มที่  และใช้กระแสในการประจุค่าที่แน่นอนเป็นระยะเวลาที่ถูกต้อง

ตารางที่  1
เซลแบบนิแคดขนาดต่างๆพร้อมทั้งค่าความจุของมัน

1  เซลแบบกระดุม
         เนื่องจากเซลแบบกระดุมนี้รั่วไม่ได้  จึงสำคัญมากที่จะต้องไม่ประจุมากเกินไปด้วยวิธีการใดก็ตาม  มิฉะนั้นเซลจะเกิดการระเบิดขึ้นได้  วิธีที่ดีก็คือ  จำกัดค่าของกระแสในการประจุให้มีค่าต่ำไว้  เช่น  ด้วยอัตรา  C/30  (3.33%  ของความจุ)  และใช้เวลาในการประจุประมาณ  1  วันครึ่ง  แม้ว่าที่อัตราการประจุขนาดนี้เราสามารถประจุได้เป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม
 อย่างไรก็ตามเซลแบบนิแคดนี้จะสามารถประจุไฟได้เป็นเวลานาน  แม้ว่าจะใช้งานโดยการคายประจุอย่างรวดเร็ว  และประจุด้วยกระแสจำนวนมากๆ  มันก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยสามารถประจุได้เป็นร้อยๆ  ครั้ง  แต่ถ้าใช้วิธีประจุทีละน้อย  เราก็สามารถที่จะประจุได้เป็นพันๆ  ครั้งทีเดียว
        
        เรามาลองเปรียบเทียบระหว่างเซลแบบนิแคดกับเซลแบบปฐมภูมิ  เช่น  แบบอัลคาไลน์  แมงกานีส  ดู  แต่เนื่องจากไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง  เนื่องจากขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง  เช่น  จำนวนเซลที่ใช้งาน  ราคาของเครื่องประจุ  (charge)  ขนาดและราคาของเซลและการนำไปใช้งาน  อย่างไรก็ตาม  เราสามารถที่จะเปรียบเทียบโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนได้เช่นกัน
 ยกตัวอย่างเช่น  เรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นหนึ่ง  เป็นวิทยุเทปซึ่งใช้เซลขนาด  AA  โดยใช้งานสัปดาห์ละ  10  ชั่วโมงที่กระแส  200  มิลลิแอมป์  และแรงดันเหล่งจ่ายไฟประมาณ  2  ถึง  3  โวลท์  เราสามารถใช้เซล  2  เซลต่ออนุกรมกัน  และจ่ายกระแสออกมา  200  มิลลิแอมป์
 
        ถ้าเราประมาณราคาของเครื่องประจุเซลแบบนิแคดเท่ากับ  300  บาท  (อาจถูกกว่า)  เซลแบบนิแคดขนาด AA  ราคา30 บาท และเซลแบบอัลคาไลน์  แมงกานีส  ขนาดAA  ราคา  12  บาท  เราสามารถที่จะเปรียบเทียบราคาค่าใช้จ่ายได้ดังนี้

        เซลแบบอัลคาไลน์  แมงกานีส  2  เซล  (ความจุ  1,800  มิลลิแอมป์ - ชั่วโมง)  เราจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด  200  มิลลิแอมป์  ได้เป็นเวลา  9  ชั่วโมง  ส่วนเซลแบบนิแคด  2  เซล  (ความจุ  500  มิลลิแอมป์ - ชั่วโมง)  จะสามารถจ่ายกระแสขนาดนั้นได้เป็นเวลา  2.5  ชั่วโมง  ดังนั้นจึงใช้เซลแบบอัลคาไลน์  แมงกานีสจำนวน  1.11  ชุด  ทุกสัปดาห์เป็นเงิน  27  บาทต่อสัปดาห์  เช่นเดียวกันเซลแบบนิแคดจะต้องประจุไฟใหม่  4  ครั้ง  (โดยใช้ค่าใช้จ่าย  7  สตางค์ต่อการประจุ  1  ครั้ง  ซึ่งประมาณไว้สูง)  เป็นเงิน  28  สตางค์ต่อสัปดาห์
 
        เหตุผลนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า  เครื่องวิทยุเทปนั้นถูกใช้บ่อยแค่ไหน  จุดคุ้มทุนก็จะเกิดเร็วเท่านั้น  ถ้าจำนวนเซลที่ใช้มากยิ่งขึ้น  และใช้เครื่องประจุเครื่องเดียว  จุดคุ้มทุนก็จะเกิดเร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว  ถ้าท่านใช้จำนวนเซลบ่อยครั้งเท่าไร  ท่านก็ควรจะใช้เซลแบบนิแคดมากขึ้นเท่านั้น  ถึงแม้ว่าการลงทุนในระยะแรกจะมีค่าสูง  แต่จุดคุ้มทุนก็จะเกิดขึ้นเร็วเท่านั้น  ซึ่งนี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ผลิตเซลถึงไม่ค่อยส่งเสริมในผลิตภัณฑ์เซลแบบนิแคดของตนเท่าไร  เนื่องจากจะไปทำลายธุรกิจอันใหญ่โต  และได้กำไรงามของเซลปฐมภูมิที่ตนผลิตอยู่

       


แผนที่ CARBATT.COM










Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ช.การไฟฟ้า&แบตเตอรี่ 65/19 ถนน เอกชัย-บางบอน ( ระหว่าง ซ.เอกชัย-บางบอน 86-84 ) แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10160 tel. 02-4158042- 02-4158043 , HP 081-6853377 , 0904372811 , ID LINE 08116853377