ข้อแนะนำ (สำหรับผู้ใช้) ในการรักษาแบตเตอร์รี่โบริเด้น รุ่นควิกวัน
1.แบตเตอร์รี่โบรี่เด้น รุ่น "ควิกวัน" หากใช้งานตามปกติจะไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน
2.หากพบว่าระดับน้ำกรดลงให้เติมด้วยน้ำกลั่นเท่านั้น จนระดับของน้ำกรดรดกลับขึ้นมาถึงเส้น max ดังเดิม และอย่าใช้น้ำกรดเติมเป็นอันขาด อย่าเติมน้ำกลั่นเกินเส้น max เพาระถ้าหากระดับน้ำสูงเกินไป น้ำกนดภายในแบตเตอร์รี่อาจกระเด็นออกมาเป็นอันตะรายต่อชิ้นส่วนของรถยนต์ได้
3.หากไฟไม่พอสตาร์ท ไฟรถไม่สว่าง แตรไม่ค่อยดัง ให้น้ำแบตเตอรืรี่ไปชาร์จไฟใหม่(ห้ามใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำกรด)รักษาแบตเตอร์ให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าใหรุระบาย อากาศที่จุดหรือ ที่ด้านข้างของฝา(ในแบตเตอร์รี่บางรุ่น)อุดตัน เพราะจะทำให้แบตเตอร์รี่ระเบิดได้รักษาขั้วแบตเตอร์ให้สะอาด ถ้าขั้วสกปรกให้ล้างด้วยน้ำร้อนให้สะอาด และทาด้วยจาระบีบางๆตรงส่วนบน
4.แบตเตอร์โบรี่เด้น รุ่น"ควิกวัน"สามารถเก็บพลังงานไฟไว้ได้นานกว่าแบตเตอร์ทั่วไปถึง 3 เท่า แต่ไม่ได้ใช้งานแบตเตอร์เป็นเวลานานๆควรนำไปชาร์จไฟทุกๆ3เดือนต่อครั้ง
5.แบตเตอร์รี่เป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟในรถยนต์ ถ้าอุปกรณ์ต่างๆของระบบไฟในรถยนต์บกพร่อง อาทิเช่น ไดนาโมชาร์จ คัทเอาท์ สายไฟ ก็จะทำให้การทำงานของแบตร์รี่อาจบกพร่องไปด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าระดับน้ำกรดภายใน แบตเตอร์รี่ลดต่ำ ลงเร็วกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากการที่ระบบไฟชาร์จเข้าแบตเตอร์รี่มากเกินกว่าเกณฑ์ที่สมควร
6.อีกตัวอย่างหนึ่งแบตเตอร์รี่ เก็บไฟไม่อยู่ อาจมีสาเหตุมาจากการที่ระบบไฟชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์น้อยกว่าเกณฑ์ที่สมควร
คำเตือน ในการใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์ทุกยี่ห้อ
1.ระวังแก๊สระเบิด ประกายไฟฟ้าอาจทำให้แก๊สซึ่งระเหยจากภายในแบตเตอร์รี่ระเบิดได้
2.ควรงดสูบบุหรี่และอย่าต่อสายบวกลบแบตเตอร์รี่ทำประกายไฟเล่นเป็นอันขาด
3.ระวังน้ำกรดน้ำยาภายในแบตเตอร์รี่ใช้น้ำกรดกำมะถั๋น ซึ้งเป็นอันตรายต่อตาและผิวหนังและเสื้อผ้า ห้ากถูกน้ำกรดรีบล้าง ด้วยน้ำสะอาดและปรึกษาแพทย์
หลักเกณฑ์การรับประกันคุณภาพ
แบตเตอร์รี่โบลีเด้น รุ่น "ควิกวัน" โรงงานผู้ผลิตรับประกันคุณภาพ เป็นเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่ที่เติมน้ำกรดลงในแบตเตอร์รี่ ทั้งนี้เฉพาะแบตเตอร์รี่ที่บกพร่องอันมีสาเหตุมาจากผู้ผลิตเท่านั้น(เสียภายในเงื่อนไข)
แบตเตอร์รี่ที่เสียภายในเงื่อนไข
แบตเตอร์รี่ที่เสียภายในเงื่อนไข หมายถึง แบตเตอร์รี่ที่บริษัทรับเคมมาและได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานของบริษัท และพบว่าเสียไม่สามารถใช้งานเสียดังต่อไปนี้
1.ลัดวงจร หมายถึง การที่แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบติดกัน กล่าวคือ แบตเตอร์มีการประกอบไม่เรียบร้อย ทำให้เศษตะกัวบางส่วนหลงเหลืออยู่ในเซล หรือเกิดความบกพร่องที่แผ่นธาตุ ทำให้แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบสำผัสกัน
2.สะพานไฟ หมายถึง แบตเตอร์รี่ที่มีข้อบกพร่อง โดยแผ่นธาตุขาดจาก BUSBAR หรือสะพารเชื่อมต่อระหว่างเซลขาดออกจจากกัน
3.หม้อแตกหรือการขนส่ง หมายถึง แบตเตอร์รี่ที่เปลือกและฝาชำรุด มีรอยรั้วขาว หรือแตกเสียหายไม่สามารถแก้ไขได้โดยปกติเป็นแบตเตอร์รี่ยังไม่ได้เติมน้ำกรด เสียหายในขณะขนส่งให้กับลูกค้า
4.ขั้วขาดภายใน หมายถึง การที่ขั้วยาวบวกหรือขั้วยาวลบภายในแบตเตอร์รี่ที่ต่อจากสะพานไฟถึงขั้วบวกหรอขั้วลบทีฝาแบตเตอร์รี่ขาดหรอเสียหาย หลังมีการใช้
5.แผ่นธาตุเสีย หมายถึง แผ่นธาตุบวกหรอแผ่นธาตุลบภายในช่องเซลแตกหัก
6.ประกอบเซลกับ หมายถึง แบตเตอร์รี่ที่ประกอบกลับขั้ว กล่างคือการใส่เซลไปในเปลือกแบตเตอร์รี่ มีการจัดเรียงไม่เป็นอนุกรมที่ถูกต้องหรือการเรียงเซลในแบตเตอร์รี่ ผิดไปจากเครื่องหมายบวกและลบที่ฝา
คู่มือการใช้งานแบตเตอรี่ Panasonic
1.ก่อนเริ่มใช้งาน
-แบตเตอรี่ลูกนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อนำไปสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์เท่านั้น ไม่เหมาะที่จะใช้งานอื่นๆ เช่น นำไปใช้กับเครื่องจักรการเกษตรกรรม เครื่องจักรก่อสร้าง เรือเดินสมุทร รถยนต์ไฟฟ้า เครื่องเชื่อม
-ห้ามใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำ หรือน้ำทะเลท่วมถึง
2.การจัดเก็บ
-โปรดจัดเก็บแบตเตอรี่ไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ห้ามถูกแสงแดดโดยตรง ปลอดฝุ่นน้ำค้างและที่เปียกชื้น
-โปรดจัดเก็บในสถานที่ที่เด็กเข้าไม่ถึง
-ห้ามนำเปลวไฟเข้าใกล้ และห้ามทำให้เกิดการลัดวงจร
-โปรดจัดเก็บในสถานที่ที่ไม่ตากน้ำค้าง หรือน้ำค้างแข็ง จะมีผลเสียให้แบตเตอรี่จะคลายกระแสไฟออกหมด และน้ำกรดในแบตเตอรี่อาจกลายเป็นน้ำแข็ง
3.การเคลื่อนย้าย
-ห้ามยกกลับหัว เอียง คว่ำ ตกหล่น หรือกระแทก
-โปรดระมัดระวังในการยก เนื่องจากแบตเตอรี่เป็นของหนัก อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้รับบาดเจ็บหากตกหล่นและอุปกรณ์เครื่องใช้เสียหาย
-กรณีแบตเตอรี่ที่มีหูหิ้ว ห้ามหิ้วแบตเตอรี่หมุนแกว่งไปมา
4.วิธีเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่
-โปรดเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีตำแหน่งขั้วเหมือนกับที่ติดตั้งมากับรถยนต์
-เปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดเท่ากับลูกที่ติดตั้งมากับรถยนต์
-หากใช้แบตเตอรี่2ลูก โปรดเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดและกำลังไฟเท่ากันและเปลี่ยนพร้อมกัน2ลูก
-ตรวจสอบเปลือกหม้อแบตเตอรี่ ว่าไม่ผิดปกติ เช่นไม่มีน้ำกรดรั่วซึม บิดเบี้ยวหรือเปล่งบวม
วิธีเปลี่ยนแบตเตอรี่
1.วิธีติดตั้ง
ก่อนการติดตั้งแบตเตอรี่ โปรดสัมผัสที่ตัวถังรถยนต์เพื่อให้ปลอดจากไฟฟ้าสถิตเมื่อจะติดตั้งแบตเตอรี่โปรดสวมถุงมือยาง ใส่แว่นป้องกัน
2.วิธีการถอดแบตเตอรี่ออก
โปรด ปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.ดับเครื่องยนต์และดึงกุญแจออก
-ปิดสวิทช์ไฟต่างๆให้หมด
2.ถอดสายไฟขั้วลบ-ก่อน
3.ถอดสายไฟขั้วบวก+ ทีหลัง
4.ถอดเหล็กยึดแบตเตอรี่ออก
กรณีขั้วไฟต่างๆสกปรก ขอแนะนำให้ทำความสะอาด เช่นการใช้แปรงขัด กระดาษทราย ตามความเหมาะสมส่วนรถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมมโมรี่บันทึกข้อมูล –กล่องควบคุม หากถอดแบตเตอรี่ออกจะทำให้ข้อมูลที่บันทึกในเมมโมรี่หายไป จะต้องมีการสำรองไฟเลี้ยงกล่อง หรือเครื่องยนต์เลี้ยงไฟโดยตรง
3.วิธีการติดตั้งแบตเตอรี่
-1.วางแบตเตอรี่บนถาดรอง หรือฐานตัวรถยนต์ จากนั้นสวมเหล็กยึดแบตเตอรี่และขัดยึดให้แน่น
1.1 กรณีแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีหูหิ้ว โปรดพับเก็บให้เรียบร้อย
1.2กรณีมีฝาป้องกันแบตเตอรี่ โปรดใส่กลับให้เหมือนเดิม
-2.โปรดใส่ขั้วสายไฟบวก+ ที่ขั้วบวกของแบตเตอรี่แล้วขันน๊อตให้แน่น
-3.โปรดใส่ขั้วสายไฟลบ-ที่ขั้วลบของแบตเตอรี่แล้วขันน๊อตให้แน่น
-4.โปรดใส่ฝาครอบทาที่ขั้วสายไฟบวกให้เหมือนเดิม
-รถบางรุ่นอาจจะไม่มีฝาครอบขั้วติดมากับรถยนต์
-แนะนำให้ใช้จารบีทาที่ขั้วโลหะสายไฟ เพื่อป้องกันการสึกหรอ หรือเกิดสนิมกัดกร่อน
4.การกำจัดแบตเตอรี่เก่าที่ถูกถอดออกมา
โปรดจัดเก็บด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากแบตเตอรี่เก่ายังประจุไฟฟ้าเหลืออยู่ ห้ามทิ้งแบตเตอรี่เก่า ปะปนไปกับขยะบ้าน โปรดทิ้งแบตเตอรี่เก่าให้กับแหล่งรวมที่ได้รับอนุญาต
วิธีการบำรุงรักษาและตรวจสอบ
การตรวจระดับน้ำกรด
1.ตรวจเช็คดูว่า แบตเตอรี่มีระดับน้ำกรดอยู่ระหว่างเส้นขีดบน UPPER LEVEL และระดับล่าง LOWER LEVEL
2.โปรดหยุดใช้งานทันที ถ้าแบตเตอรี่ทีมีระดับน้ำกรดต่ำกว่าเส้นขีดล่าง UPPER LEVEL ถ้าระดับน้ำกรดลดลงใกล้กับเส้นล่าง กรุณาเติมน้ำกลั่นเพิ่ม
-กรณีแบตเตอรี่มีระดับน้ำกรดอยู่ระหว่างเส้นล่าง และเส้นบน แนะนำให้เติมน้ำกลั่น ไม่ควรใช้แบตเตอรี่ที่มีระดับน้ำกรดต่ำกว่าเส้นล่าง
-กรณีแบตเตอรี่มีระดับน้ำกรดอยู่ระหว่างเส้นล่าง อาจทำให้ชิ้นส่วนโลหะภายในสึกกร่อน น้ำแห้งเร็วขึ้น และมีความเสี่ยงในการระเบิดสูง ดังนั้นขอแนะนำให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่
-เมื่อระดับน้ำกรดลดต่ำกว่าเส้นขีดต่ำแล้ว จะมีผลทำให้แผ่นธาตุแบตเตอรี่ร่วง ถึงแม้จะเติมน้ำกลั่นเพิ่มก็ตาม น้ำก็จะลดลงอีกและจะเป็นอันตราย โปรดเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทันที
-น้ำที่ควรใช้เติมเพิ่มในแบตเตอรี่ ควรเป็นน้ำกลั่นบริสุทธิ์
3.เตรียมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่จะใช้เติมแบตเตอรี่เท่านั้น
4.หมุนจุกช่องเติมออก
5.เติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ลงในช่องเติม ให้ระดับน้ำกลั่นมาอยู่ที่เส้นบน UPPER LEVEL
-ห้ามเติมน้ำกลั่นเกินกว่าเส้นระดับบน UPPER LEVEL
-ใช้ฉพาะน้ำกลั่นบริสุทธิ์เติมเท่านั้น ห้ามใช้น้ำอื่นๆเติม
6.ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดทำความสะอาดคราบที่เลอะแบตเตอรี่
2.การทำความสะอาดแบตเตอรี่
เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำ
-ห้ามเช็ดด้วยผ้าแห้ง
-ห้ามทำความสะอาดด้วยผงชักฟอก น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ น้ำมันที่เป็นสารละลายอินทรีย์
3.ตรวจเช็คสายไฟขั้วต่อและเหล็กยึดแบตเตอรี่
1.สายไฟขั้วต่อและเหล็กยึดแบตเตอรี่ ติดตั้งแน่นหนาหรือไม่
2.ถ้าพบว่าไม่แน่น โปรดขันน๊อตให้แน่น
เมื่อแบตเตอรี่ไฟหมด
1.การใช้สายพ่วงสตาร์ทเครื่องยนต์ JUMP STARTING
รถกู้ภัยที่มาช่วยเหลือจะต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีกระแสไฟเท่ากัน 12vหรือ24v และขนาดเท่ากันกับรถที่มีปัญหา โดยใช้สายพ่วงสตาร์ทเครื่องยนต์
-วิธีการพ่วงที่อธิบายในคู่มือเป็นเพียงตัวอย่างกับรถยนต์ทั่วไปเท่านั้น และขอให้ดูคู่มือจากรถยนต์ของท่าน
1.ดับเครื่องยนต์ทั้งรถกู้ภัยและรถที่เป็นปัญหา
2.ก่อนอื่นให้ตรวจดูระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ ถ้าระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับเส้นล่างให้เติมน้ำเพิ่ม
3.โปรดต่อสายพ่วงให้ขั้วทั้ง2ฝ่ายตรงกันเช่น/ ขั้วบวก+ต่อกับขั้ว+/ และขั้วลบ-ต่อเข้ากับขั้วลบ
-ระมัดระวัง อย่าปล่อยให้สายพ่วงเข้าไปพันกับพัดลมระบายความร้อน
-ระมัดระวัง อย่าดึงสายพ่วงตึงและแรงเกินไป
4.เริ่มจาก ติดเครื่องยนต์รถกู้ชีพก่อน พร้อมกับเร่งรอบเครื่องให้สูงขึ้นเล็กน้อย
5.จากนั้น ติดเครื่องยนต์รถที่มีปัญหา
6.เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ให้ถอดสายพ่วงออก
2.การอัดไฟด้วยเครื่องอัดไฟ
การอัดไฟด้วยเครื่องอัดไฟ ก่อนอื่นให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากรถยนต์ หลังจากนั้นหมุนจุกช่องเติมของน้ำกลั่นออกทุกจุก เพื่อให้ก๊าซระบายออกในระหว่างอัดไฟ สถานที่อัดไฟควรมีอากาศถ่ายเทสะดวกและขอให้ปฎิบัติตามขั้นตอนตามคู่มือแนะนำการใช้เครื่องอัดไฟสำหรับกระแสไฟที่ใช้อัดแบตเตอรี่ ต้องอยู่ที่ระดับ 13-14.4v และหยุดอัดไฟชั่วคราวเมื่อ อุณหภูมิน้ำกรดและตัวถังร้อนสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส
แผนที่ CARBATT.COM