แบตเตอรี่รถยนต์ วิธีไหว้ ศาลหลักเมืองกรุงเท...
ReadyPlanet.com


วิธีไหว้ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เสริมดวง ทั้ง 5 จุด ไหว้อย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง วิธีไหว้ ศาลหลักเมื


  

วิธีไหว้ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เสริมดวง ทั้ง 5 จุด ไหว้อย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง

วิธีไหว้ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เสริมดวง ทั้ง 5 จุด ไหว้อย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง

ไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร อีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าหากได้ไปสักการะก็จะช่วยเสริมดวงในด้านต่าง ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง เสริมความเป็นสิริมงคล

สำหรับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร นั้น เป็นศาลที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2325 ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง ปัจจุบันเสาหลักเมืองมีด้วยกัน 2 เสา คือ เสาหลักเมืองสมัยรัชกาลที่ 1 และเสาหลักเมืองสมัยรัชกาลที่ 4

การไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ขั้นตอนการสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครมีด้วยกัน 5 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 อาคารหอพระพุทธรูป

สักการะพระประธาน พระพุทธรัตนศรีนครบพิตร ที่ประดิษฐานภายในหอพระพุทธรูป โดยในจุดนี้ ให้ถวายดอกบัว 1 ดอก โดยไม่ต้องจุดธูปและเทียน และภายในหอพระพุทธรูปนี้ยังมีให้ใส่บาตรพระพุทธรูปประจำวันเกิดด้วย โดยเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ และช่วยหนุนดวงเสริมความมั่นคงในชีวิต

จุดที่ 2 องค์พระหลักเมืองจำลอง

กราบสักการะองค์พระหลักเมืองจำลอง ให้กล่าวคำอธิษฐาน ถวายรูป เทียน และปิดทอง จากนั้นให้ผูกผ้าแพร 3 สี บนองค์พระหลักเมืองจำลอง โดยให้ผูกพร้อมกันทั้ง 3 ผืน

จุดที่ 3 สักการะองค์พระหลักเมืององค์จริง

ภายในจะมีเสาหลักเมือง 2 เสา โดยเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 1 จะมียอดเสาเป็นรูปบัวตูม ส่วนเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 4 ยอดเสาเป็นยอดเม็ดทรงมัณฑ์ ในจุดนี้ให้นำพวงมาลัยถวายองค์พระหลักเมือง 1 พวง

คำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง

ตั้งนะโมฯ 3 จบ

ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมือง เทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง โภชนานัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขะเยนะ สุเขนะจะฯ

ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องสักการะและสิ่งต่าง ๆ แด่องค์พระหลักเมือง ขอองค์พระหลักเมือง จงรับเครื่องสักการะและสิ่งต่าง ๆ ของข้าพเจ้า ขอบารมีองค์พระหลักเมือง และเทพเทพารักษ์ที่สถิตอยู่ ณ ที่นี้ จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าทำการสิ่งใดได้สำเร็จสมปรารถนาทุกประการ

ขอให้ข้าพเจ้า และครอบครัว พร้อมทั้งบริวาร ตลอดจนญาติสนิท มิตรสหาย จงแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง ปราศจากโรคาพยาธิ และจงมีแต่ความสุขความเจริญ ตลอดกาลนานเทอญ

จุดที่ 4 ศาลเทพารักษ์ทั้ง 5

กราบไหว้องค์เทพารักษ์ทั้ง 5 โดยถวายพวงมาลัยทั้ง 5 พวง สำหรับเทพารักษ์ทั้ง 5 จะประกอบด้วย พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง โดยเทพารักษ์ทั้ง 5 มีหน้าที่ดูแลปกป้องบ้านเมืองในด้านการเมือง การปกครอง อริราชศัตรู และเหตุเภทภัยที่เกิดกับบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุขสงบร่มเย็น

หน้าที่ของเทพารักษ์ ทั้ง 5

  • องค์ที่ 1 พระเสื้อเมือง เทพารักษ์ผู้ปกป้องคุ้มครองทั้งผืนดิน และผืนน้ำ พิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากศัตรูผู้รุกราน
  • องค์ที่ 2 พระทรงเมือง เทพารักษ์ผู้กำกับดูแลการปกครองกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน
  • องค์ที่ 3 พระกาฬไชยศรี เทพารักษ์ผู้ยับยั้งการทำความชั่ว ขี่นกแสกคอยสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นบริวารพระยม เมื่อมนุษย์ผู้ใดถึงฆาตจะนำทางดวงวิญญาณไปให้พระยมชำระความ
  • องค์ที่ 4 เจ้าเจตคุปต์ เทพารักษ์ผู้จดบันทึกความชั่วร้ายของมนุษย์ที่ตายไปเป็นบริวารพระยม ผู้อ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม
  • องค์ที่ 5 เจ้าหอกลอง เทพารักษ์ผู้สอดส่องดูแลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วแผ่นดิน คอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำและเที่ยงคืน ปกป้องคุ้มภัยเมื่อมีเหตุร้าย เช่น เกิดอัคคีภัย หรือเมื่อข้าศึกล่วงล้ำ เข้าใกล้พระนคร

จุดที่ 5 เติมน้ำมันตะเกียง

จุดสุดท้ายของการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคน ในจุดนี้ให้เติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด โดยให้เติมครึ่งขวดเพื่อความสว่างไสวในชีวิต มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ส่วนที่เหลือให้นำไปเติมที่ตะเกียงสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีทุกข์โศกโรคภัยออกไป

ศาลหลักเมืองกรุงเทพ เปิดกี่โมง

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เปิดให้การบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.30 น.

 

 

ขอขอบคุณ:  ดูดวงแม่นๆ



ผู้ตั้งกระทู้ บิตคอยน์ :: วันที่ลงประกาศ 2023-05-06 22:07:36


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.