แบตเตอรี่รถยนต์ ชนิดของแบตเตอรี่แบบต่างๆ
ReadyPlanet.com
dot dot
bulletpanasonic test
dot
dot
คลิกแผนที่
dot
dot
bulletเครื่องวัดค่ากำลังสตาร์ทCCA
bulletชนิดของแบตเตอรี่แบบต่างๆ
bulletข้อสั่งเกตอาการแบตตอรี่เสื่อม
bulletโครงสร้างแบตตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bulletวิธีการชาร์ทแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง
bulletวิธีดูแลรักษาแบตเตอร๊่รถยนต์
bulletเลือกแบตให้เหมาะกับรถ
bulletรถยี่ห้อไหนใช้แบตเตอรี่อะไร
bulletโค้ด,ชนิด,แอมป์,แบตทุกยี่ห้อ
bulletขั้นตอนการตรวจวัดแบตเตอรี่
bulletแผนที่OFFICEช.แบตเตอรี่
dot
dot
bulletข้อมูล แบตเตอรี่ BOLIDEN
dot
dot
bulletBOSCH SMFแบตแห้ง
bulletBOSCH S3+Plus
bulletBOSCH HT AMG Start-Stop
bulletข้อมูล BOSCH แบตเตอรี่
bulletPANASONICแบตเตอรี่ MF
bulletแบตเตอรี่PANASONIC กึ่งแห้ง
bulletแบตเตอรี่กึ่งแห้งPANASONIC
dot
dot
bullet3Kแบตเตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bullet3Kแบตเตอรี่ HYBRID
bullet3Kแบตเตอรี่ V-Series
bullet3Kแบตเตอรี่ ข้อมูล
dot
dot
bulletFB แบตเตอรี่ กรดตะกั่ว-Hybrid
bulletFB แบตเตอรี่ MF-SMF
bulletลักษณะเด่น FB Super Gold
dot
dot
bulletGSแบตเตอรี่ กรด-ตะกั่ว
bulletGS Double Lid & MF
bulletGS Hybrid Extra
bulletข้อมูลGSแบตเตอรี่
bulletข้อมูลแบตเตอรี่ GS
dot
dot
bulletPUMA แบตเตอรี่ SMF
dot
dot
bulletอัลปัมรูป BOLIDEN MF
bulletอัลปัมรูป BOLIDEN SMF
bulletอัลปัมรูป BOSCH
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN MF
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN SMF
bulletรถรุ่นไหนใช้แบตอะไรดูที่นี่
dot
dot
bulletเงื่อนไขการรับประกันแบต
dot
ส่งข่าวสารได้ที่นี่

dot
bulletคุณสมบัติ BOLIDEN
bulletลักษณะเด่นBOLIDEN SMF
dot
dot
bulletแบตเตอรี่เครื่องเสียงรถยนต์
dot
dot
bulletเครื่องวัดแบต DHC BT 501
bulletเครื่องวัดแบต DHC BT 501EV
bulletเครื่องวัดแบต DHC รุ่น RT777
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT111
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT222
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT501
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC RT777
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT501EV
bulletเครื่องวัดแบตเตอรี่ DHC BT2000EV
bulletพรมซ้อมชิฟ พรมซ้อมไดร์ฟ
bulletแบตเตอรี่เครื่องเสียงรถยนต์


วาต้า แบตเตอรี่
เครื่องวัดประสิทธิภาพแบตเตอรี่ bt2000ev
ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ ยี่ห้อ PANASONIC ทุกรุ่น
แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ชนิดMaintenance Free รุ่นQuick One
แบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ชนิด Sealed Maintenance Free รุ่น SMF
ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ยี่ห้อ BOLIDEN ทุกรุ่น คลิกที่นี่
แผนที่ Office Carbatt.com
ยินดีรับบัตร VISA MASTER
HONDA
NISSAN
MAZDA
MITSUBISHI
ISUZU
SUBARU
SUZUKI
benz
bmw
volvo
volkswagen
chevrolet
ford
hyundai
mini cooper
เครื่องวัดคุณภาพแบตเตอรี่
QR CODE Carbatt.com
3K Battery Advance Extreem
แบตเตอรี่ ROCKET SMF
รับเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ HYBRID ทุกรุ่นที่ยี่ห้อ


ชนิดของแบตเตอรี่แบบต่างๆ

      แบตเตอรี่ชนิดต่างๆและแบตเตอรี่รถยนต์

        เรานำพลังงานไฟฟ้ามาเก็บไว้ให้คุณเพียงแต่แกะฝาออกคุณก็จะได้พลังงานออกมาใช้  แต่จะแกะฝาไหนละครับลองมาทำความรู้จักแต่ละฝา  แต่ละแบบซิครับ

        ทุกคนคงจะรู้จักกันดีถึงถ่านไฟฉาย  เพราะอย่างน้อยก็ต้องเคยใช้ในวิทยุ  ในกระบอกไฟฉาย  หรือในเครื่องเล่นเทป  แบบกระเป๋าหิ้ว  แต่เคยมีใครคิดไหมว่า  ทำไมถ่านไฟฉายบางชนิดถึงมีราคาแพง  และบางชนิดมีราคาแพงกว่าอีกชนิดหนึ่ง  มันเป็นความจริงหรือไม่ที่เขาโฆษณากันว่า  ถ่านไฟฉายชนิดนี้จะมีอายุการใช้งานนานกว่า    เป็น  2  เท่า  ของชนิดนั้น  และทำไมเครื่องไฟฟ้าบางอย่างถึงต้องเจาะจงใช้แบตเตอรี่  ชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะบทความนี้จะนำคุณไปรู้จักกับแบตเตอรี่ชนิดต่างๆ  ตลอดจนแสดงให้เห็นรูปแบบของแบตเตอรี่แต่ละชนิด  ซึ่งจะทำให้คุณรู้จักเลือกใช้แบตเตอรี่แต่ละชนิดให้เหมาะกับงานแต่ละอย่างในราคาที่สมเหตุสมผล
       
        เริ่มแรกเรามาทำความรู้จักกับคำว่าแบตเตอรี่กันก่อน  ถ่านไฟฉายที่เราเห็นกันนั้นเรียกว่า  เซล  (cell)  ถ้าพูดกันให้ถูกต้อง  คำว่าแบตเตอรี่ในความหมายทางไฟฟ้าก็คือ  การนำเซลเหล่านั้นมาต่อกัน  เซลทั้ง  4  ขนาดที่เราเห็นกันทั่วไปในรูปที่  1 , 2 , 3  และ  4  ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของจริง
 ถึงแม้ว่าจะมีเซลหลายแบบมีขนาดต่างๆ  กัน  (ซึ่งผู้ผลิตแต่ละ...จะทำการผลิตเซลแต่ละชนิดออก  2 – 3  ขนาด  หรือมากกว่านั้น)  แยกออกเป็นขนาดต่างๆ  กันในขนาด  AAA  ขนาด  AA ขนาด  D  ตามลำดับ  ความจริง..ท้องตลาดมีเซลขนาดต่างๆ  กันมาก

เซลแบบอนุกรม
        
        แบตเตอรี่ขนาดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ  ขนาด  PP – 3  ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่  5  ก็ที่เรียกกันติดปากว่าถ่าน  9  โวลท์แหละครับ  แบตเตอรี่ขนาด  PP – 3   นี้เรียกว่าเป็นแบตเตอรี่ได้อย่างแท้จริง  เนื่องจากมันประกอบไปด้วย  เซลขนาดเล็ก  6  เซลต่ออนุกรมกัน  บรรจุอยู่ในตัวถังแสดงในรูปที่  6  แต่ละเซลจะมีแรงดัน  1.5  โวล์ท  ดังนั้นแบตเตอรี่ขนาด  PP – 3  จึงมีแรงดัน  9  โวล์ท  แบตเตอรี่ชนิดอื่นซึ่งเป็นแบบ  PP  ก็มี  PP – 1,  PP – 6,  PP – 9  และอื่นๆ  อีก  ซึ่งมีโครงสร้างเช่นเดียวกับ  PP – 3   
       
         แต่อย่าลืมนึกถึงแบตเตอรี่อีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้กันทั่วไป  นั้นก็คือ  แบตเตอรี่รถยนต์  ซึ่งภายในประกอบด้วยเซลมาต่ออนุกรมกัน  6  เซล  ข้อแตกต่างกับแบตเตอรี่อื่นก็คือ  เซลภายในตัวแบตเตอรี่แต่ละเซลจะมีแรงดัน  2  โวล์ท  ดังนั้นแบตเตอรี่รถยนต์นี้จึงสามารถจ่ายแรงดันได้  12  โวล์ท  มีบางสิ่งที่แตกต่างไปสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์กับแบตเตอรี่ต่างๆ  ที่กล่าวถึงในตอนแรกนั่นคือ  มันสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้สำหรับใช้ในการติดเครื่องยนต์  เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วเยเนอเรเตอร์ในรถก็จะหมุนปั่นไฟประจุกับสู่แบตเตอรี่ได้

                                                                                 
         รูปที่  6  แสดงถึงลักษณะโครงสร้างภายในของแบตเตอรี่ขนาด  PP–3  โดยเซลทั้ง  6  เซลจะต่ออนุกรมกัน 

        การที่แบตเตอรี่รถยนต์สามารถประจุไฟเข้าไปได้  ก็เนื่องมาจากมันถูกสร้างให้เป็นเซลแบบทุติยภูมิ  (secondary  cell)  โดยเซลแบบทุติยภูมินั้น  เมื่อสร้างขึ้นแล้วต้องนำไปทำการประจุไฟหรือชาร์จไฟเสียก่อน  จึงจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาได้  และเมื่อใช้กระแสไฟฟ้า  (discharge)  ไปจนกระแสอ่อนลงแล้วก็นำไปประจุไฟใหม่ได้  ซึ่งไม่เหมือนกับเซลที่กล่าวถึงในตอนแรก  ซึ่งเป็นขนาด  AAA  ขนาด  AA ขนาด  C  ขนาด  D  และขนาด  PP  ทุกแบบ  โดยทั่วไปนั้นเซลขนาดเหล่านี้ถูกสร้างมาเป็นแบบเซลปฐมภูมิ  ซึ่งเซลชนิดนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาได้ทันที  เมื่อใช้ไปแล้ว  ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับมาเป็นสภาพเดิมได้อีก  หลังจากที่ใช้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว  ต้องเปลี่ยนส่วนประกอบใหม่จึงจะใช้ได้ดีดังเดิม  และไม่สามารถประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้  นอกจากนี้ยังมีเซลแบบทุติยภูมิที่มีขนาดเดียวกับเซลแบบปฐมภูมิ  ดังกล่าวมีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งรู้จักกันในนามของเซลแบบนิกเกิล – แคดเมี่ยม  (Nickel  Cadmium)  หรือเรียกกันย่อๆ  ว่านิแคด  (Nicad)  แต่เราจะไม่นำมากล่าวในที่นี้ 

         ในหัวข้อต่อไปนี้  เราจะมาศึกษาให้ลึกซึ่งถึงเซลแบบปฐมภูมิชนิดต่างๆ  ที่มีขายกันอยู่ในขณะนี้ว่ามันทำมาจากอะไร  สามารถจ่ายกระแสออกมาได้อย่างไร  ตลอดจนถึงประโยชน์ในการนำมันไปใช้งานต่อไป

                                      
รูปที่  1  แสดงถึงเซลขนาด  AAA  ซึ่งมีความสูงประมาณ  44.5  มิลลิเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง  10.5 
             มิลลิเมตร
รูปที่  2  เป็นเซลขนาด  AA  มีความสูงประมาณ  50  มิลลิเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง  14  มิลลิเมตร  และเป็น
             เซลขนาดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในกระบอกไฟฉาย  วิทยุ  และพวกซาวน์อะเบ๊าท์
รูปที่  3  แสดงถึงเซลขนาด  C  ซึ่งมีความสูงประมาณ  49  มิลลิเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง  25 
             มิลลิเมตร
รูปที่  4  เป็นเซลขนาด D  มีความสูงประมาณ  60  มิลลิเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง  33.2  มิลลิเมตร  ซึ่งเป็น
             ขนาดที่นิยมใช้กันมากในที่สุดในวิทยุกระเป๋าหิ้ว
รูปที่  5  เป็นเซลขนาด PP - 3  หรือแบตเตอรี่  9  โวล์ตซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี  เพราะว่าใช้ในพวกเครื่องเล่นต่างๆ   
             ขนาด  PP - 3  นั้นจัดว่าเป็นแบตเตอรี่อย่างแท้จริง  ซึ่งประกอบด้วยเซลมาต่อกันเป็นชุด  ซึ่งต่างกับ  4 
             ขนาดแรกที่กล่าวมา


การทำงานของเซลไฟฟ้า
       
        เซลไฟฟ้านั้นสร้างขึ้นได้โดยการนำแท่งตัวหรือเรียกว่า  แท่งอิเลคโทรด  (electrode)  2  แท่งมาจุ่มลงไปในสารละลายที่เรียกว่า  อิเลคทรอไลท์  (electrolyte)  ดังแสดงให้เห็นในรูปที่  7  แท่งอิเลคโทรดแท่งหนึ่งจะเรียกว่าอาโนด  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโลหะ  ส่วนอีกแท่งหนึ่งเรียกว่า  คาโถด  ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาจากออกไซด์ของโลหะ
       
        ออกไซด์ของโลหะเกิดจากการรวมตัวกันระหว่างอะตอมของโลหะกับออกซิเจน  ตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยๆ  ของออกไซด์ของโลหะก็คือ  ออกไซด์ของเหล็กที่เรียกกันว่า  สนิมเหล็ก  ซึ่งเกิดจากการทิ้งเหล็กไว้ในอากาศ  ซึ่งโลหะส่วนมากแล้วจะรวมตัวกับออกซิเจน  เมื่อนำออกไซด์ของโลหะมาใช้ในเซลจะเป็นการใช้ในทางสร้างสรรค์  ไม่เหมือนกับสนิมเหล็กซึ่งเป็นตัวทำลาย
       
        ส่วนอิเลคทรอไลท์ทำจากสารต่างๆ  ได้หลายชนิด  ซึ่งจะเลือกใช้ให้เหมาะกับอิเลคโทรดแต่ละชนิดเท่านั้น  โดยที่เซลต่างชนิดกันจะใช้อิเลคโทรดต่างกัน  ทำให้ใช้อิเลคทรอไลท์ต่างกันด้วย  แต่อิเลคทรอไลน์แบบใดก็ตามก็เป็นตัวนำไฟฟ้าซึ่งจะให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  ในทิศทางใดโดยเฉพาะซึ่งเราจะกล่าวถึงต่อไป
 
        โลหะที่ใช้เป็นอาโนดนั้น  จะเลือกให้มีความสามารถในการรวมตัวกับออกซิเจนได้ดีกว่าโลหะที่ใช้เป็นคาโถดถ้านำเอาอาโนดและคาโถดมาวางไว้ด้วยกัน  อาโนดจะดึงเอาออกซิเจนออกจากออกไซด์ของโลหะ  ซึ่งเป็นคาโถดและทิ้งแท่งคาโถดไว้เป็นโลหะ  ในกรณีนี้เราเรียกว่าอาโนดถูกออกซิไดซ์  (oxidised)  ส่วนคาโถดนั้นจะถูกรีดิวซ์  (reduced)
       
         อิเลคทรอไลท์นั้นเป็นสารเคมีเฉพาะ  ซึ่งยอมให้การแลกเปลี่ยนของออกซิเจนระหว่างอาโนดและคาโถดเกิดขึ้น  โดยแท่งอาโนดและคาโถดไม่จำเป็นต้องมาแตะก้น  ในกรณีนี้สารอิเลคทรอไลท์จะเป็นตัวนำอนุภาคของออกซิเจน  (ซึ่งมีประจุลบ)  ซึ่งเกิดขึ้นที่คาโถดเคลื่อนที่ข้ามไปสู่อาโนด  ดังนั้นคาโถดจึงถูกรีดิวซ์  ส่วนอาโนดจะถูกออกซิไดซ์  ซึ่งเงื่อนไขในกรณีนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเซลอยู่ในลักษณะรูปที่  7  ถึงแม้ว่าเราจะพูดว่าเกิดความต่างศักย์ขึ้น  (ซึ่งหมายถึงแรงดันไฟฟ้า)  ในการที่ประจุของออกซิเจนจะไปรวมตัวกับโลหะที่แท่งอาโนด  อนุภาคแต่ละอนุภาคของโลหะจะต้องปล่อยอิเลคตรอนออกมา  ในขณะเดียวกับที่อนุภาคของออกซิเจนจะออกจากแท่งคาโถด  และเข้าไปในสารอิเลคทรอไลท์จะต้องได้รับประจุมา
 
        เราสามารถใช้ความต่างศักย์นี้ให้เป็นประโยชน์  ถ้าเราต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับขั้วของแท่งอาโนดและคาโถด  ดังแสดงในรูปที่  8  ในกรณีนี้อิเลคตรอนซึ่งมาจากการปล่อยของออกซิเจนเพื่อที่จะไปรวมตัวกับแท่งอาโนด  จะเคลื่อนที่จากแท่งอาโนดเข้าไปในวงจรผ่านหลอดไฟ  (ทำให้หลอดไฟสว่างขึ้น)  และเคลื่อนกลับไปสู่แท่งคาโถดซึ่งมันสามารถประจุอนุภาคของออกซิเจนได้ดีกว่า  การไหลของประจุอิเลคตรอนจะทำให้เกิดการไหลของกระแสขึ้นในวงจนที่อยู่จนกระทั่งแท่งคาโถดไม่มีอนุภาคของออกซิเจน  หรือจนกระทั่งอาโนดถูกออกซิไดซ์หมดแล้ว  ที่จุดนี้เรากล่าวได้ว่า  เซลคายประจุออกอนุภาคของประจุที่ไหลผ่านอิเลคทรอไลท์เรียกว่า  อิออน  (ion)  ซึ่งจะมาจากสารอื่นๆ  ได้หลายชนิด  ไม่เฉพาะแต่ออกซิเจนเท่านั้น  ขึ้นอยู่กับเซลแต่ละชนิดและอิเลคทรอไลท์ที่ใช้ซึ่งก็ใช้หลักการเดียวกัน 
 
        เนื่องจากการใช้อิเลคทรอไลท์แตกต่างกัน  ตลอดจนใช้อาโนดและคาโถดที่แตกต่างกัน  ทำให้สามารถผลิตเซลชนิดต่างๆ  ซึ่งมีราคาตลอดจนคุณสมบัติแตกต่างกัน  เราจะมาศึกษาดูถึงตัวแปรที่แตกต่างกันของเซลทั้งหมด  ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อที่จะได้รับทราบข้อเปรียบเทียบของเซลแต่ละชนิด  เมื่อได้ไปสัมผัสกับมัน

                          
                                       รูปที่ 7 เป็นเซลแบบพื้นฐานแสดงถึงอาโนดคาโถด และอิเลคทรอไลท์

                         
                             รูปที่ 8 เป็นการทำงานของเซลแบบพื้นฐานในกรณีนี้ใช้ทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างขึ้นมา

แรงดันกับความต้านทาน
        ความต่างศักย์ภายนอกของเซลนั้น  เรียกกันว่าเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า  (electro  motive  force  หรือย่อว่า  EMF)  ค่าที่แน่นอนนั้น  (โดยปกติจะอยู่ประมาณ  1.5  โวลท์)  จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุที่นำมาเป็นอาโนดและคาโถด  และชนิดของสารอิเลคทรอไลท์  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและอายุของเซล  สำหรับเซลใหม่แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด  (rated)  อยู่เล็กน้อยคือประมาณ  1.6  โวลท์  และจะตกลงมาเป็นค่าต่ำประมาณ  1.2  โวลท์  เมื่อเซลเก่าและคายประจุหมด 
        การแปรเปลี่ยนไปของแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลแม้ว่าจะเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ก็ไม่เจาะจงนัก  เนื่องจากวงจรอิเลคทรอนิคส์หลายชนิดไม่ต้องการแรงดันไฟฟ้าที่คงที่และสม่ำเสมอในการทำงาน  อย่างไรก็ตามมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่า  นั่นคือ  ความต้านทานภายในของเซล  (internal  resistance)  ภายในตัวเซลเองเกิดจากโครงสร้างและสารที่ใช้ทำ  ค่าความต้านทานภายในนี้  ไม่สามารถละทิ้งได้  แต่จะมีค่าน้อยมากซึ่งขึ้นอยู่กับเซลแต่ละชนิด

                          
        รูปที่  9  ก.,ข.และ ค.เป็นวงจรเทียบเท่า (ในรูปที่8) ของเซลขนาด1.5โวลท์  แสดงถึงความต้านทานภายในเซล

        เราจะเห็นผลของค่าความต้านทานภายใน  ถ้าเราดูตามแผนผังในรูปที่  9  ก.  ซึ่งเป็นวงจรเทียบเท่าของเซลไฟฟ้า  ซึ่งจะประกอบด้วยตัวกำเนิดแรงดันต่ออนุกรมอยู่กับตัวต้านทาน  โดยที่ตัวกำเนิดแรงดันจะแทนความต่างศักย์ของอาโนดคาโถด  และอิเลคทรอไลท์ร่วมกัน  ในขณะที่ตัวต้านทานนั้นจะแทนความต้านทานภายในของเซลไฟฟ้า
ในรูป  9.  ข.  แสดงให้เห็นเซลไฟฟ้า  ซึ่งมีตัวกำเนิดแรงดันค่า  1.5  โวลท์  และมีค่าความต้านทานภายใน  (R1)  ค่า  10  โอห์ม  ต่ออยู่กับความต้านทานซึ่งเป็นวงจรภายนอก  มีค่า  1.5  กิโลโอห์  เราสามรถคำนวณค่าของกระแสที่ไหลผ่านวงจรโดยใช้กฎของโอห์มว่า

  I = ( 1.5 / 1500 ) = 1mA...... มิลลิแอมป์

        อย่างไรก็ตาม  ค่าความต้านทานภายในเซลที่ต่ออนุกรมอยู่ก็มีผลต่อค่ากระแส  และต้องนำเข้ามาคิดด้วย  โดยวงจรจะเขียนใหม่เป็นดังรูปที่  9  ค.  ซึ่งเราจะเห็นตัวต้านทาน  2  ตัวติดต่อกันอยู่เป็นวงจรแบ่งแรงดัน  ซึ่งแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานภายนอกค่า  1.5  กิโลโอห์ม  นั้นเท่ากับ 

 V R 2    =  ( R2  / ( R1+R2 ) ) X 1.5

             =  ( 1500 / ( 10+ 1500 ) ) X 1.5

             =  1.49  โวลท์

 ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดไว้  และค่ากระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทานภายนอกเท่ากับ

  I = ( 1.49 / 1500 )   = 0.99  mA

        ซึ่งมีค่าต่ำลงเล็กน้อย  ค่าแรงดันและกระแสที่ต่ำลงเพียงเล็กน้อยไม่มีผลเพียงพอที่จะกระทบการทำงานของวงจร ลองมาดูวงจรใหม่ในรูปที่  10  ซึ่งวงจรภายนอกที่นำมาต่อมีความต้านทานทั้งหมดเพียง  5  โอห์ม  เหมือนกับตัวอย่างที่แล้ว   เราจะคำนวณค่ากระแสในวงจรตอนแรก  เมื่อยังไม่คิดถึงความต้านทานภายในเซล  ได้ค่ากระแสเท่ากับ

  I =  ( 1.5 / 5 )   = 300  mA

  แต่เมื่อนำเอาค่าความต้านทานภายในเซลมาคิดด้วย  ค่าแรงดันจริงๆ  ที่ตกคร่อมความต้านทานภายนอก  คือ

 V R 2 =  ( 5 / ( 10+5 ) ) x 1.5 = 0.5 V

ค่ากระแสจริงๆ  ที่ไหลผ่าน  คือ

  I =  ( 0.5 / 5 )   = 100  mA

        ซึ่งค่าแรงดันและกระแสที่ลดต่ำลงอย่างมากนี้  จะมีผลกระทบอย่างมากมายต่อการทำงานของวงจรภายนอกที่นำมาต่อด้วยไม่เฉพาะแต่ความต้านทานภายในเซลจะไปลดค่ากระแสที่ไหลผ่านวงจร  ภายนอกซึ่งเซลจะจ่ายออกไป  แต่ยังเป็นการสูญเสียพลังงานอีกด้วย  โดยจากตัวอย่างข้างต้นแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานภายในเซลเป็น  1.5 – 0.5 =  1  โวลท์  ทำให้เกิดกำลังงานสิ้นเปลืองไปเท่ากับ

  P = ( V2 / R )  =   (1/10 )  =  0.1  W

        ซึ่งจะสูญเสียไปเป็นความร้อน  เนื่องมาจากความต้านทานภายในเซลตัวเซลจะอุ่นขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่า  ความต้านทานภายในขึ้นอีกและจะมีผลให้ค่าแรงดันที่ตกคร่อมขึ้นอีก  วนเวียนกันเป็นวัฏจักรไปเรื่อยๆ  ซึ่งเป็นกรณีที่เลวร้าย  ทำให้วงจรภายนอกที่นำมาต่อกระแสไฟฟ้าไม่พอเลี้ยงให้วงจรทำงานต่อไปได้  และถึงแม้ว่ากระแสจะพอเลี้ยงวงจรได้  พลังงานที่สูญเปล่านี้ก็จะไปลดอายุการใช้งานของเซลลง
        ดังนั้น  จะเห็นว่าค่าความต้านทานภายในเซลจะเริ่มมีความสำคัญ  ถ้ากระแสที่จ่ายออกจากเซลมีค่ามาก  โดยการลดค่าของความต้านทานภายในเซลลง  ผลกระทบเนื่องจากความต้านทานภายในเซลก็จะลดน้อยลง  แต่ก็ยังไม่สามารถลดลงจนเป็นศูนย์ได้

กำลังงานต่อชั่วโมง
        คุณลักษณะสำคัญอันหนึ่งของเซลไฟฟ้า  ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาก่อนที่จะรู้ถึงชนิดของเซลแบบต่างๆ  นั้น  ก็คือ  ค่าความจุของเซล  (cell  capacity)  ซึ่ง  คือปริมาณของกระแสไฟฟ้าซึ่งเซลหนึ่งๆ  สามารถจ่ายออกไปได้ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ยกตัวอย่างเช่น  เซลไฟฟ้าเซลหนึ่งมีความจุ  1,000  มิลลิแอมป์ชั่วโมง  หมายความว่า  (โดยการไม่คิดถึงค่าความต้นทานภายในเซล)  เซลนี้สามารถจ่ายกระแสได้  1,000  มิลลิแอม  เป็นระยะเวลา  1  ชั่วโมง  หรือจ่ายกระแสได้  100  มิลลิแอมป์เป็นเวลา  10  ชั่วโมง  หรือจ่ายกระแสได้  20  มิลลิแอมป์  เป็นเวลา  50  ชั่วโมง  เป็นต้น 
       
        แต่ถ้ากล่าวถึงค่าความจุกระแสของเซลในรูปของมิลลิแอม – ชั่วโมง  โดยลำพัง  ไม่ได้หมายถึงความจุทั้งหมดของเซล  บางครั้งเราจะคำนึงถึงค่าแรงดันของเซลเป็นส่วนหนึ่งของค่าความจุของเซลด้วย  ซึ่งทำได้โดยการคูณค่าความจุกระแสของเซลด้วยค่าแรงดันของเซล  ซึ่งจากตัวอย่างแรงดันของเซลเท่ากับ  1.5  โวลท์  ดังนั้น  มันจะมีความจุของพลังงานทั้งหมดอยู่ในหน่วยของมิลลิวัตต์-ชั่วโมง  เช่น
  
1000 X1.5 V     =     1500 mWh

                                                          
              รูปที่10 แสดงถึงผลของความต้านทานภายใน ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของวงจรที่ภาวะกระแสสูงๆ

เซลแบบสังกะสี – ถ่าน  (Zinc  Carbon  Cell)
        เซลแบบสังกะสี – ถ่านที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้  ได้หลักการมาจากเซลแบบเริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ชื่อ  จอร์จ  เลอคลังเช่  ในปี  พ.ศ. 2409  ซึ่งลักษณะเป็นโถแก้ว  โดยมีแมงกานีสไดออกไซด์เหลว  ซึ่งทำหน้าที่เป็นคาโถดบรรจุในหม้อรูพรุน  โดยตัวหม้อจะถูกล้อมรอบด้วยแอมโม-เนี่ยมคลอไรด์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นอิเลคทรอไลท์  โดยมีแท่งสังกะสีจุ่มอยู่ในอิเลคทรอไลท์ทำหน้าที่เป็นอา-โนด  การต่อออกมาจากแมงกานีสไดออกไซด์  ซึ่งเป็นคาโถดจะต่อโดยใช้แท่งถ่าน  ส่วนเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  ในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานนับจากวันของเซลแบบเลอคลังเช่  ซึ่งรู้จักในนามของเซลแบบเปียก  (wet  cell)  เนื่องจากลักษณะของส่วนผสมของอิเลคทรอไลท์
        ตัวถังภายนอกของเซลแบบแห้งสมัยใหม่นี้ทำจากโลหะสังกะสีและทำหน้าที่เป็นอาโนด  ภายในตัวถังสังกะสีจะเป็นชั้นบางๆ  ซึ่งแยกอาโนดออกจากคาโถดและบรรจุไว้ด้วยอิเลคทรอไลท์จนเต็ม  อิเลคทรอไลท์นั้นเป็นส่วนผสมของแอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์  ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ  คาโถดนั้นจะประกอบด้วยผงแมงกานีสไดออกไซด์ผสมกับผงถ่านและอิเลคทรอไลท์  ทำให้มีลักษณะเหลวๆ  และภายในจะสอดแท่งถ่านไว้  ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะสมกระแส  ภายนอกตัวถึงจะห่อด้วยกระดาษหลายชั้น  และชั้นนอกสุดจะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ  หุ้มอยู่
โดยการเปลี่ยนส่วนผสมของอิเลคทรอไลท์จะสามารถทำเซลแบบสังกะสี – ถ่านได้หลายแบบ  ซึ่งเหมาะกับงานแต่ละชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  อิเลคทรอไลท์ที่ทำจากซิงค์คลอไรด์อย่างเดียว  จะทำให้ได้เซลที่มีค่าความต้านทานภายในต่ำลง  ทำให้เหมาะกับงานหนักที่ต้องจ่ายกระแสสูง  เช่นเดียวกับการใช้ส่วนผสมของแมงกานีสไดออกไซด์  ที่มีคุณภาพเป็นคาโถดก็จะให้ผลเช่นเดียวกัน

เซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีส  (Alkaline  Manganese  Cell)
        ในเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสนั้น  สารที่ใช้ทำอาโนดและคาโถดใช้สังกะสี  และแมงกานีสไดออกไซด์  เช่นเดียวกับเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  โดยที่อาโนดนั้นประกอบด้วยผงสังกะสีซึ่งทำให้เพิ่มพื้นที่ผิวขึ้น  จะผสมกับอิเลคทรอไลท์รวมกันอยู่ในลักษณะเหลวๆ 

                          
                                                รูปแสดงโครงสร้างของเซลแบบเลอคังเช่  (Lechanche  cell)

แมงกานีสไดออกไซด์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นคาโถดของเซลแบบอัลคาไลท์แมงกานีสนั้น  ทำมาจากสารที่บริสุทธ์กว่า  ซึ่งรู้จักกันในนามของอิเลคทรอไลติค  แมงกานีสไดออกไซด์  ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีความจุของออกซิเจนเพิ่มขึ้น  ส่วนผสมของโปตัสเซี่ยมไฮดรอกไซด์  ซึ่งเรียกว่า  อัลคาไลน์นั้นจะมีค่าความนำไฟฟ้าสูงมาก  ทำหน้าที่เป็นอิเลคทรอไลท์  โดยการใช้อิเลคทรอไลท์และสารที่ใช้ทำอาโนด  และคาโถดที่มีคุณภาพสูงทำให้เซลชนิดนี้เหมาะสำหรับงานหนักทที่ใช้กระแสสูง  เป็นเซลที่มีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมีค่าความต้านทานภายในต่ำ  และมีค่าความจุพลังงานสูง

                         
                                             รูปที่  11  แสดงถึงโครงสร้างภายในของเซลแบบสังกะสี - ถ่าน
  

                         
                                       รูปที่  12  แสดงถึงโครงสร้างภายในของเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีส
 

                         
   รูปที่13 แสดงถึงโครงสร้างของเซลปรอทแบบกระดุม ส่วนเซลซิวเวอร์แบบกระดุม และเซลแบบสังกะสี อากาศ ก็มีโครงสร้างเหมือนกัน

        เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างของเซลแบบสังกะสี – ถ่านแล้ว  เซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสในรูปที่  12  นั้นจะกลับกันกับเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  กล่าวคือส่วนที่เป็นอาโนดจะอยู่ภายใน  ส่วนที่เป็นคาดถดจะอยู่ภายนอก  ตัวถังที่ใช้บรรจุนั้นทำจากเหล็ก  จะไม่เหมือนกับตัวถังสังกะสีของเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  เนื่องจากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคมีในการผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาจึงไม่มีการผุพังเมื่อมีการใช้งาน  มันมีหน้าที่ในการเป็นตัวเพิ่มความแข็งแรง  และป้องกันการรั่วไหลของส่วนผสมภายในเซลแท่งโลหะตรงกลาง  ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะสมกระแสซึ่งมีรูปเหมือนตะปูนั้น  จะต่อโดยตรงกับอาโนด
 แรงเคลื่อนไฟฟ้าภายในเซลนั้น  เนื่องจากใช้โลหะและออกไซด์ชนิดเดียวกัน  ในการทำเป็นอาโนดและคาโถดเช่นเดียวกันกับเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  จึงมีค่าโดยปกติ  1.5  โวลท์
 
เซลแบบกระดุม  (Button  Cell)
        ในบรรดาเซลที่มีขนาดเล็กที่สุดและเบาที่สุดเมื่อเทียบกับค่าความจุของเซลนั้น  คงจะไม่มีชนิดใดจะเกินเซลแบบกระดุมไปได้  ซึ่งเซลชนิดนี้ใช้สำหรับจ่ายกำลังงานในนาฬิกาข้อมือดิจิตอล  ในอุปกรณ์ช่วยฟังสำหรับคนหูตึง  เครื่องคิดเลขและอุปกรณ์การถ่ายรูป  มีรูปแบบและชนิดต่างๆ  มากมายโดยจะพิจารณาชนิดหลักๆ  กัน
 เซลแบบปรอทดังแสดงในรูปที่  13  จะมีส่วนผสมของโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย  ทำหน้าที่เป็นอิเลคทรอไลท์  ผิวหน้าด้านบนภายในเซลเป็นทองแดง  ซึ่งจะเหมาะที่จะทำปฏิกิริยาไฟฟ้า – เคมี  กับสังกะสี  ซึ่งจะลดการสึกกร่อนสิ้นเปลืองให้น้อยที่สุด  ตัวเซลภายนอกทำมาจากเหล็กชุบนิเกิ้ล  ซึ่งจะต้านทานต่อการกัดกร่อนของอิเลคทรอไลท์ได้อย่างดี
        คาโถดนั้นทำมาจากออกไซด์ของปรอท  ซึ่งมีความจุของออกซิเจนสูง  ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงก็ตาม  แต่ก็ให้ผลคุ้มค่า  เนื่องจากมีอัตราส่วนระหว่างพลังงานต่อน้ำหนักและปริมาตรมีค่าสูง  แรงดันเซลโดยปกติจะเท่ากับ  1.35  โวลท์  ส่วนค่าความต้านทานภายในจะมีค่าแน่นอนและมีค่าต่ำ
 
เซลแบบซิลเวอร์ออกไซด์  (Silver  Oxide  Cell)
        สารที่ใช้ทำคาโถดของเซลแบบกระดุมอีกชนิดหนึ่ง  คือ  ออกไซด์ของเงิน  ซึ่งโครงสร้างของเซลชนิดนี้จะเหมือนกับแบบปรอท  แต่เซลชนิดนี้สามารถจ่ายแรงดันออกมาได้สูงกว่าเป็น  1.55  โวลท์  นอกจากนี้ความต้านทานภายในเซลก็ยังมีค่าต่ำ  เซลชนิดนี้จึงเหมาะกับการใช้งานที่กระแสสูงๆ  เช่น  อุปกรณ์ที่มีตัวแสดงเป็น  LED  เป็นต้น
        ผลรวมของอัตราส่วนระหว่างพลังงานต่อน้ำหนักและปริมาตร  ซึ่งมีค่าสูง  การผนึกอย่างดีเยี่ยม  และอายุการเก็บรักษาได้นาน  (ซึ่งคล้ายกับแบบปรอท)  ทำให้เซลแบบซิลเวอร์ออกไซด์เป็นทางเลือกที่ดีเมื่อต้องคิดถึงเรื่องเนื้อที่สำหรับติดตั้งเซลเป็นอันดับแรก  อย่างไรก็ตามออกไซด์ของเงินก็เป็นสารที่มีราคาแพงมาก

เซลแบบสังกะสี – อากาศ  (Zinc  Air  Cell)
        เซลแบบสังกะสี – อากาศมีโครงสร้างและรูปร่างคล้ายกับเซลแบบซิลเวอร์ออกไซด์  และแบบปรอท  ต่างกันก็เพียงแต่มีรูให้อากาศเข้าที่ด้านล่าง
 ออกซิเจนจากอากาศรอบๆ  เซลจะใช้ในการออกซิไดช์  ผงสังกะสีผสมกับอัลคาไลน์อิเลคทรอไลท์  ซึ่งเป็นอาโนด  โดยผ่านเยื่อสังเคราะห์  จากความจริงที่ว่าอนุภาคของออกซิเจนจะถูกนำมาจากอากาศไม่ได้มาจากคาโถด  จะทำให้เหลือเนื้อที่ภายในเซลมากขึ้นในการบรรจุอาโนด  ดังนั้นเซลชนิดนี้จึงมีค่าความจุไฟฟ้าสูงกว่าเซลแบบปรอท  และซิลเวอร์ออกไซด์ถึง  2  เท่าตัว
 เซลแบบสังกะสี – อากาศจะมีอายุในการเก็บรักษานานเป็นพิเศษ  ถ้ามันถูกผนึกก่อนจะถูกขนส่งไป  ซึ่งตัวผนึกจะป้องกันอากาศเข้าทำปฏิกิริยากับภายในเซล  เมื่อแกะตัวผนึกออกก็พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที
        ขนาดและจำนวนของรูอากาศ  สามารถกำหนดปริมาณอากาศที่นำไปใช้ได้  ดังนั้นเซลชนิดนี้จึงสามารถที่จะผลิตขึ้นสำหรับงานเฉพาะอย่างได้  ยกตัวอย่างเช่น  ในการใช้งานซึ่งต้องการกระแสใช้งานสูง  จะเจาะรูใหญ่และจำนวนมาก  ส่วนการใช้งานที่กระแสต่ำเป็นระยะเวลานานๆ  จะเจาะรูอากาศขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก  ค่าแรงดันปกติของเซลชนิดนี้เท่ากับ  1.45  โวลท์

เซลแบบลิเธี่ยม  (Lithium  Cell)
 โครงสร้างของเซลแบบลิเธี่ยม – แมงกานีสไดออกไซด์  แสดงในรูปที่  14  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเซลแบบกระดุมอื่นๆ  เพีงแต่อาโนดเป็นลิเธี่ยมและคาโถดเป็นแมงกานีสไดออกไซด์

                        
                                                  รูปที่  14  แสดงถึงโครงสร้างของเซลลิเธี่ยมแบบกระดุม

ลิเธี่ยมเป็นสารที่มีปฏิกิริยาเร็วมาก  ซึ่งนี่เป็นสารที่น่าดึงดูดในมากในการนำมาใช้เป็นอาโนดของเซล  แต่ก็เป็นสารที่ต้องระมัดระวังไว้ด้วย  โดยการจับถือและการประดิษฐ์ให้เป็นรูปร่างต่างๆ  ต้องทำหน้าที่ปราศจากและสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความชื้น
เนื่องจากปฏิกิริยาที่เร็วมากนี่เอง  จึงทำให้เซลชนิดนี้มีค่าแรงดันสูงกว่าเซลทั่วๆ  ไป  คือสูงถึง  3.6  โวลท์  ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับงานหนักที่ต้องการแรงดันสูงกว่าปกติ
เราสามารถใช้อิเลคทรอไลท์ได้หลายๆ  แบบในเซลแบบลิเธี่ยม  ทำให้สามารถผลิตเซล  ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ  กันมีระบบหนึ่งใช้อิเลคทรอไลท์แบบของแข็ง  ซึ่งมีเสถียรภาพดีมาก  แต่ก็มีค่าความต้านทานภายในเซลสูง  ทำให้สามารถจ่ายกระแสได้ต่ำจึงสามารถจ่ายแรงดันได้เพียง  1.9  โวลท์
อิเลคทรอไลท์อีกตัวที่ใช้ในเซลแบบลิเธี่ยมนี้ก็คือ  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ซึ่งอยู่ในรูปของของเหลว  ซึ่งจะทำให้เซลจ่ายแรงดันได้ถึง  3  โวลท์  อิเลคทรอไลท์อีกตัวซึ่งใช้กันคือ  ไธโอนิลคลอไรด์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลว  จะทำให้เซลจ่ายแรงดันออกมาได้  3.6  โวลท์  ค่าแรงดันที่สูงขึ้นนี้เป็นไปได้เนื่องจากอิเลคทรอไลท์จะเป็นตัวทำอิเลคทรอไลท์ผสมกับคาโถด  ทำให้กำเนิดความต่างศักย์ออกมาได้สูงกว่า
เซลแบบลิเธี่ยมทุกชนิด  ซึ่งใช้อิเลคทรอไลท์แบบของเหลว  จะทำให้ได้ความต้านทานภายในเซลต่ำลง  ทำให้สามารถจ่ายกระแสได้เพิ่มขึ้น

เขาเลือกใช้กันอย่างไร
 เราได้พบเซลแบบต่างๆ  มากเพียงพอที่จะตัดสินถึงคุณสมบัติต่างๆ  ของเซลแต่ละแบบ  ต่อไปจะทำการเปรียบเทียบกันในรูปของน้ำหนัก  ขนาด  และคุณสมบัติในการใช้งานระหว่างเซลชนิดหลักๆ  2  ชนิด  คือ  เซลแบบสังกะสี – ถ่าน  และเซลแบบอัลคาไลน์ – แมงกานีส  รูปที่  15  แสดงถึงกราฟแท่งเปรียบเทียบระหว่างเซลชนิดต่างๆ  7  ชนิดที่เราได้กล่าวมาแล้ว  โดยพิจารณาถึงเรื่องน้ำหนักจะเห็นได้ชัดถึงเซลแบบสังกะสี – อากาศและแบบลิเธี่ยมจะมีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ

  
                      
                 รูปที่  15  เป็นกราฟแสดงการเปรียบเทียบความจุของเซลแบบต่างๆ  เมื่อพิจารณาถึงน้ำหนักด้วย

    
                       
              รูปที่  16  เป็นกราฟแสดงการเปรียบเทียบความจุของเซลแต่ละชนิด  เมื่อพิจารณาถึงปริมาตรของเซล


                        
รูปที่  17  เป็นกราฟที่น่าสนใจ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาของเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีส  แบบสังกะสี – ถ่าน  และแบบสังกะสี - ถ่านที่ใช้กับงานหนักโดยเทียบกับอัตราการใช้กระแส


        ในรูปที่  16  นั้นเป็นกราฟแท่งแสดงถึงเซลชนิดต่างๆ  โดยพิจารณาเกี่ยวกับปริมาตร  จะเห็นว่าเซลแบบซิลเวอร์ออกไซด์จะให้คุณสมบัติที่ดีที่สุดในเรื่องของขนาด
 แต่ข้อเปรียบเทียบที่สำคัญที่สุดที่เราต้องการ  และเป็นข้อแตกต่างที่เรายอมรับอย่างแน่นอน  จะอยู่ในรูปของประสิทธิภาพ โดยพิจารณาถึงราคาต่อหน่วยเวลาที่ใช้  ความยุ่งยากจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาขายปลีกของเซลแต่ละชนิด  จะมีขอบเขตที่กว้าง  แต่กระนั้นก็ตามข้อเสนแนะที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นแนวทางที่มีเหตุมีผล
 ถ้าจะพูดโดยทั่วไปแล้ว  เซลแบบกระดุมชนิดต่างๆ  นั้นจะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่างยิ่ง  ซึ่งไม่สามารถใช้เซลชนิดอื่นแทนได้  เมื่อคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพแล้วจะแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ  ได้  3  ชนิด  คือ  แบบสังกะสี  - ถ่าน  แบบสังกะสี – ถ่านที่ใช้งานหนัก  (heavy  duty  zinc  carbon)  และแบบอัลคาไลน์แมงกานีส  ซึ่งทั้ง  3  ชนิดนี้ได้ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีขนาดเท่ากัน  และสามารถใช้ทดแทนกันได้  คำถามก็จะมีต่อไปว่าควรจะใช้แบบใดดี  ระหว่างแบบสังกะสี – ถ่าน  หรือแบบสังกะสี – ถ่านที่ใช้งานหนัก  หรือแบบอัลคาไลน์แมงกานีสในงานเฉพาะอย่างหนึ่งๆ  ในรูปที่  17  จะอธิบายถึงกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาของเซลทั้งสามชนิดเปรียบเทียบกับกระแสที่จ่ายได้  และแสดงให้เห็นถึงที่อัตรากาใช้กระแสสูงๆ  (ประมาณ  100  มิลลิแอมป์หรือกว่านั้น)  เซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสจะมีราคาคุ้มค่ามากที่สุด
 อย่างไรก็ตามที่จุดต่ำกว่า  100  มิลลิแอมป์นี้  เซลแบบสังกะสี - ถ่านที่ใช้งานหนักนั้นจะเหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟประเภทเคลื่อนที่ได้
 สำหรับที่ระดับกระแสต่ำๆ  น้อยกว่า  20  มิลลิแอมป์หรือกว่านั้น  เซลแบบสังกะสี - ถ่านธรรมดาจะเหมาะสมกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแบบอัลคาไลน์แมงกานีส
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแบบอัลคาไลน์แมงกานีส  จะมีข้อดีกว่าในเรื่องของความจุ  กำลังงานและคุณภาพกล่าวคือ  ในเซลแบบสังกะสี – ถ่านนั้น  ตัวถังที่เป็นสังกะสี  จะเข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาไฟฟ้า – เคมีด้วย  ทำให้ตัวถังเกิดการรั่วขึ้นมา  ในสภาวะการณ์ทั่วไปแล้วเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสจะทนทานกว่าเซลแบบสังกะสี – ถ่าน  โดยเซลแบบอัลคาไลน์แมงกานีสจะช่วยจ่ายกระแสได้เป็นระยะเวลานานกว่า  แต่ในย่านที่ใช้กระแสต่ำหรือปานกลางเป็นพักๆ  นั้น  การใช้เซลชนิดนี้ก็จะไม่เป็นการประหยัดเลย

รูปที่  18  เป็นกราฟแสดงถึงอัตราการใช้กระแสของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นตัวจ่ายกำลังงานให้  โดยปกติแล้วถ้าเกิดความร้อนขึ้นมาก  (เช่นในไฟแฟลช)  และมีส่วนทีเคลื่อนไหวมาก  (เช่น  กลไกการขับเคลื่อนกล้องถ่าย  ภาพยนตร์  หรือเครื่องเล่นเทป  จะต้องใช้กำลังงานเพิ่มมากตามไปด้วย)  
 
 

รูปที่  19  แสดงถึงเซลแบบสังกะสี – อากาศแบตเตอรี่ทั่วไปจะเสื่อมสภาพถ้าเก็บไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ ใช้แต่เซลแบบสังกะสี – อากาศจะถูกปิดผนึกไว้จนกว่าจะนำมาใช้  ซึ่งจะทำให้เก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานมาก  จนแกะตัวผนึกออก โดยการดึงแถบที่ปิดอยู่  ดังรูปออกก็สามารถนำไปใช้งานได้  
 
 

        ในรูปที่  18  แสดงให้เห็นตารางการใช้กระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ที่ใช้กำลังจากเซลไฟฟ้า  ในย่านกระแสใช้งานต่ำสุดและสูงสุด  คุณจะได้ใช้เป็นเครื่องตัดสินใจว่า  คุณควรจะเลือกใช้เซลไฟฟ้าชนิดใดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใด  จึงจะเหมาะสมและประหยัดที่สุด
 เท่าที่กล่าวมาแล้วคงจะทำให้รู้จักเซลไฟฟ้าชนิดต่างๆ  ขึ้นมาบ้าง  ทราบถึงคุณลักษณะต่างๆ  ของเซลไฟฟ้าแต่ละชนิด  ซึ่งเซลไฟฟ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มีการขายในเมืองไทยแทบทุกชนิดแล้ว  ครั้งต่อไปที่คุณไปซื้อเซลไฟฟ้าก็เลือกได้เหมาะกับงานนะครับ



       
แผนที่ CARBATT.COM










Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ช.การไฟฟ้า&แบตเตอรี่ 65/19 ถนน เอกชัย-บางบอน ( ระหว่าง ซ.เอกชัย-บางบอน 86-84 ) แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10160 tel. 02-4158042- 02-4158043 , HP 081-6853377 , 0904372811 , ID LINE 08116853377